แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

ศึกษากำเนิดและพัฒนาการรามัญนิกายในประเทศไทย

keyword: ประเทศไทย
Abstract: บทคัดย่อ สารนิพนธ์ เรื่องกำเนิดและพัฒนาการรามัญนิกายในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษากำเนิดรามัญนิกาย ๒)เพื่อศึกษารามัญนิกายในประเทศไทย ๓) เพื่อศึกษาพัฒนาการของรามัญนิกายในประเทศไทย จากการวิจัยพบว่า พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาของประเทศไทย มีหลายนิกาย แต่นิกายหนึ่งที่โดดเด่น และได้รับการยอมรับว่าเป็นคณะสงฆ์ที่ปฏิบัติเคร่งครัดถูกต้อง สอดคล้องตามพระธรรมวินัย คือคณะสงฆ์รามัญนิกาย ซึ่งได้รับพระพุทธศาสนาเมื่อพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เป็นประธานจัดทำสังคายนาครั้งที่ ๓ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๑๘ ได้ส่งพระโสณเถระและพระอุตตรเถระมายังสุวรรณภูมิพร้อมด้วยพระสงฆ์ ๕ รูป ประดิษฐานพระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ ต่อมาสมณวงศ์ในรามัญประเทศเสื่อมลง เพราะเกิดวิบัติต่าง ๆ ในบ้านเมือง เป็นมูลเหตุให้พระสงฆ์แตกแยกแบ่งออกเป็นหลายนิกาย เมื่อพระเจ้าธรรมเจดีย์ขึ้นเสวยราชสมบัติเมืองหงสาวดีในปี พ.ศ. ๒๐๑๕ ทรงมีพระราชดำริจะทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์ รวมสังฆมณฑลให้เป็นนิกายเดียวกัน จึงทรงโปรดให้พระมหาเถระผู้เป็นคณาจารย์ไปรับการอุปสมบทต่อนิกายมหาวิหารในลังกาทวีป ให้มีคณะสงฆ์รามัญนิกายบริสุทธิ์เกิดขึ้นเสียก่อน แล้วกลับมาอุปสมบทให้แก่ผู้อื่นจนมีพระสงฆ์วงศ์มหาวิหารวงศ์เดียวในรามัญประเทศ รามัญนิกายเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยพระภิกษุชาวไทย ได้เดินทางไปยังอาณาจักรมอญ บวชแปลงใหม่ตามลัทธิวิธีของรามัญ แล้วอยู่เรียนพระธรรมวินัย ในอาณาจักรนั้น จนมีความรู้ความสามารถแล้ว จึงกลับมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาตามอย่างลัทธิรามัญ การปกครองคณะสงฆ์รามัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แยกออกไปต่างหากจากคณะสงฆ์ไทย มีเจ้าคณะใหญ่ปกครองและมีพระราชาคณะรองลงมาเป็นผู้ช่วยการคณะ สำหรับการศึกษาพระสงฆ์มอญศึกษาวินัยเป็นสำคัญ เดิมกำหนดเป็น ๓ ประโยค ภายหลังเพิ่มขึ้นเป็น ๔ ประโยค ต่อมาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงปรับปรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย ทรงเปลี่ยนมาเป็นการสอบด้วยวิธีเขียน รวมของพระสงฆ์มอญด้วย และในที่สุดทรงให้เลิกการสอบพระปริยัติธรรมแบบมอญเสีย ทรงให้มารวมศึกษาเล่าเรียนและสอบแบบไทยจนถึงปัจจุบัน พระสงฆ์รามัญเป็นผู้ปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัยตั้งแต่โบราณ ในด้านวัตรปฏิบัติและการสังวัธยายต่าง ๆ เป็นไปตามแบบอย่างที่เคยปฏิบัติมาเมื่อครั้งอยู่ในอาณาจักรรามัญ จนทำให้พระภิกษุสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎเป็นผู้นำ ดำเนินการปรับปรุงก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายขึ้น โดยทรงยกย่องรามัญนิกายเป็น “ครู” ด้านธรรมเนียมของรามัญนิกายที่สำคัญอย่างหนึ่งที่สืบเนื่องมาแต่โบราณ คือการสวดพระปริตรแบบรามัญ เป็นการสวดเพื่อคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ทุกวันธรรมสวนะ จะมีพระปริตรรามัญ ๔ รูป ทำหน้าที่สวดพระปริตร ทำน้ำพระพุทธมนต์ที่หอศาสตราคมในพระบรมมหาราชวัง จนถึงปัจจุบัน
Abstract: Abstract This research is of the three main objective as follows : i) to study the history of the Rāmañña Nikāya. ii) To Study the history of the Rāmaña Nikāya in Thailand, and iii) To Study the development the Rāmañña Nikāya in Thailand. From the research , it is fount that in Thailand, the Buddhist monks consist of many Nikāyas (sects) but one Nikāya which is prominent and is accepted that the monks of this Nikāya behaved themselves austerely and followed the Dhamma and the Vinaya strictly, is Rāmañña Nikāya. This Nikāya has embraced Buddhism since Phra Moggalliputra Thera had presided over the 3rd Sanํgāyanā (general convocation of the Sanํgha) in order to settle the questions of doctrines and to fix the texts of the Scriptures in B.E. 218. After this Sanํgāyanā, two monks named Phra Sona Thera and Phra Uttara Thera together with five monks were sent to Suwannabhūmi for propagating Buddhism at this land which was called Suwannabhūmi. Later on, Samanavamsa of Rāmañña Land had declined because of the crises and the damages from enemies causing the separation of Sanํgha (the Order) into many Nikāyas. When King Dhamma Jedi ascended the throne in Hangsāvadī in B.E. 2015, he initiated to revive Buddhism and assembled the Sanํgha to be one Nikāya. The King graciously allowed these monks to be ordained as Mahā Nikāya in Sri Lanํkā in order to form the Pure Rāmañña Nikāya and then returned home to ordain the others until there was only Mahāvamsa in Rāmañña land. Rāmmañña Nikāya had been propagated in Thailand since Sukhothai Period. The Thai monks travelled to Mon Kingdom to be re-ordained in Rāmañña Nikāya and they studied Dhamma and Vinaya in that Kingdom until obtaining more knowledge before returning to spread Buddhism according to the method of Rāmañña Nikāya. The administration of Rāmañña Sanํgha in Ayutthayā Kingdom had been separated from Thai Sanํgha which was administered by the Chief Superintendent of the Ecclesiastics and the Royal Chapter of monks working as their assistants. For education, the Mon monks mainly studied Vinaya, so they had the examination only of Vinaya Pitaka scripture which previously had only Pāli Grade 3 and afterwards increased to be Pāli Grade 4. Later, Somdej Phramahā Samanachao Kromphrayavajirayanavaroros had improved the study of Thai Sanํgha by changing such the method to be instead of the written examination Rā mañña monks which included that of Rāmañña as well. The King graciously allowed the to abolish the general Dhamma studies concerning the method of learning and examination of Rāmañña Nikāya by following the current Thai method instead up go the present time. Rāmañña monks had practised Dhamma and Vinaya austerely since the former time on their activities and recitations conformed to the way that was used to practise in the period of Rāmañña Kingdom that caused Somdej Chao Fa Mongkut while he was in monkhood to make the improvement by establishing Dhammayuttika Nikāya, praising Rāmañña Nikāya as his “teacher”. One of the important traditions of ancient Rāmañña Nikāya which was continued from the past, is the Phraparit to recitation of Rāmañña Nikāya to be the recitation for preventing and protecting disasters on every Buddhist Day. Four Phraparita Rāmañña monks had been reciting the Phraparita and making the holy water at the weaponry house in the Royal Palace up to the present day.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: library@mcu.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Issued: 2556-10-11
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
RightsAccess:
ใช้เวลา
0.015639 วินาที

พันเอก ณรงค์ ครองแถว
Title Contributor Type
ศึกษากำเนิดและพัฒนาการรามัญนิกายในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พันเอก ณรงค์ ครองแถว
พระมหาทวี มหาปญฺโญ (ละลง) ผศ.ดร., ป.ธ. ๙, พธ.บ., ศน.ม.M. Phil., Ph.D.
วิทยานิพนธ์/Thesis
กำเนิดและพัฒนาการของมนุษย์ในพระสุตตันตปิฎก
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พันเอก ณรงค์ ครองแถว
ดร. อธิเทพ ผาทา ป.ธ.๔, พธ.บ., พธ.ม. (ปรัชญา), พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
วิทยานิพนธ์/Thesis
พระมหาทวี มหาปญฺโญ (ละลง) ผศ.ดร., ป.ธ. ๙, พธ.บ., ศน.ม.M. Phil., Ph.D.
Title Creator Type and Date Create
ศึกษากำเนิดและพัฒนาการรามัญนิกายในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระมหาทวี มหาปญฺโญ (ละลง) ผศ.ดร., ป.ธ. ๙, พธ.บ., ศน.ม.M. Phil., Ph.D.
พันเอก ณรงค์ ครองแถว
วิทยานิพนธ์/Thesis
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 50
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 3,214
รวม 3,264 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 104,215 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 236 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 176 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล = 27 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 14 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 2 ครั้ง
สถาบันพระบรมราชชนก = 2 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสงฆ์ = 1 ครั้ง
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ = 1 ครั้ง
รวม 104,674 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.132
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.48