แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

ศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาจารวาก

keyword: ปรัชญาจารวาก
Abstract: บทคัดย่อ วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์ที่ศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาจารวากที่มีอิทธิพลต่อคนในสังคมทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่อดีตจนถึงในปัจจุบันกาล ปรัชญาจารวากเป็นปรัชญาที่สอนให้คนทำลายคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม จารีตประเพณีที่ดีงามในสังคม แต่ส่วนลึกของแนวคิดปรัชญานี้ยังมีปรากฏอยู่ในสังคมปัจจุบัน การศึกษาวิเคราะห์ ผู้วิจัยได้แบ่งเนื้อหาของงานวิจัยออกเป็น ๕ บท ซึ่งในแต่ละบทได้อธิบายถึงสารัตถะที่ต้องการศึกษา ดังต่อไปนี้ บทที่ ๑ กล่าวถึงความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาที่จะต้องนำมาศึกษา บทที่ ๒ กล่าวถึงแนวคิดทางปรัชญาที่มีอิทธิพลต่อปรัชญาจารวาก ประกอบด้วยกลุ่มอาสติกะ กลุ่มนาสติกะ แนวคิดปรัชญาของลัทธิครูทั้ง ๖ สำนัก แนวคิดพุทธปรัชญาเถรวาท และแนวคิดของปรัชญาเชน บทที่ ๓ กล่าวถึงแนวคิดทางอภิปรัชญา แนวคิดทางญาณวิทยา และแนวคิดทางจริยศาสตร์ในปรัชญาจารวาก บทที่ ๔ กล่าวถึงการวิเคราะห์แนวคิดปรัชญาจารวาก ประกอบด้วยวิเคราะห์แนวคิดอภิปรัชญา ญาณวิทยา จริยศาสตร์ วิเคราะห์อิทธิพลแนวคิดปรัชญาจารวากในสังคมที่มีต่อระบบทุนนิยม บริโภคนิยม สุขนิยมและผลกระทบ บทที่ ๕ กล่าวถึงบทสรุปที่ได้ศึกษาวิเคราะห์มาทั้งหมดพร้อมทั้งข้อเสนอแนะในการนำปัญหาที่ยังไม่ได้ศึกษาไปค้นคว้าต่อไป ผลจากการศึกษาวิเคราะห์มาทั้งหมด ผู้วิจัยได้พบข้อสรุปอันเกี่ยวกับแนวคิดปรัชญาจารวากได้ดังต่อไปนี้ ๑. ปรัชญาจารวากเป็นปรัชญาที่ยึดมั่นในวัตถุนิยม ปฏิเสธความเชื่อคัมภีร์พระเวทและลัทธิพิธีกรรมของพราหมณ์ มุ่งสอนให้คนแสวงหาแต่วัตถุ ให้แสวงหาแต่ความสุขสบายทางวัตถุ เพราะมีความเชื่อว่าคนเกิดมาชาติเดียว ตายแล้วสูญ ไม่มีการกลับมาเกิดอีก ไม่มีโลกหน้า ไม่มีนรก ไม่มีสวรรค์ ไม่มีความดี มีแต่ปัจจุบันเท่านั้น ๒. ปรัชญาจารวากมีแนวคิดว่าความจริงจะต้องพิสูจน์ได้ทางประสาทสัมผัสเท่านั้น ปฏิเสธความจริงที่ไม่ผ่านทางประสาทสัมผัส ปฏิเสธความเชื่อในคำสอนทุกระบบ ในวิถีแห่งการดำเนินชีวิต ปรัชญาจารวากสอนให้แสวงหาความสุขสำราญ โดยเฉพาะความสุขทางกายให้เต็มที่ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะชีวิตมีจุดหมายคือมีความสุขในทางวัตถุในปัจจุบันนี้เท่านั้น แนวความคิดนี้เป็นคำสอนที่ทำลายศีลธรรมอันเป็นแบบปฏิบัติที่ดีงามในสังคม ทั้งยังจะสร้างปัญหาใหม่ให้เกิดขึ้นแก่สังคม ๓. อิทธิพลแนวคิดในลัทธินี้ที่เชื่อว่ามีชาตินี้ชาติเดียว ตายแล้วสูญ ได้มีปรากฏอยู่ในสัญชาตญาณของคนในสังคมปัจจุบัน ถึงจะไม่มีความเชื่อในคำสอนของลัทธินี้ทั้งหมด แต่ความคิดนี้เกิดขึ้นมาโดยที่ไม่มีใครรู้แต่เกิดอยู่ในตัวตน จึงทำให้หาแต่ความสุขทางวัตถุเพื่อให้ตนได้มีความสุขเหนือกว่าผู้อื่น ดังนั้น ทุนนิยม บริโภคนิยม เกิดความโลภในความสุข ความสบาย จึงตกเป็นทาสของวัตถุโดยไม่รู้ตัว ซึ่งความสุขประเภทนี้เป็นความสุขชั้นโลกิยะ จึงไม่ต่างไปจากความสุขของสัตว์ทั้งหลายทั่วๆ ไปที่พึงมีได้
Abstract: ABSTRACT The aim of this study is to study and analyze Carvaka Philosophy in the perspective of its influence on societies from the past to the present. The Carvaka Philosophy contains the teachings that are said to be against virtues. Nevertheless, when deeply studied, it is found that such a Philosophy still prevails in the present societies. The researcher has divided the contents of this study into 5 chapters. The aim of each chapter is specified as follows: Chapter 1 is about the importance and the origin of the problems. Chapter 2 is about the contemporary concepts in India, consisting of Asatika, Nasatika and the philosophical concepts of all six schools, the concept of Buddhism philosophy, and the influence of the concept of Jaina philosophy. Chapter 3 is about metaphysical concept, epistemological concept, and ethical concept in Carvaka Philosophy. Chapter 4 is about the influences of Carvaka philosophical concepts in the societies with argumentative attitudes towards metaphysics, epistemology, ethics, materialism and idealism in chasing the discusses about the influences of Carvaka Philosophy in the systems of capitalism, consumerism, and hedonism, and finally it discusses the consequences of these influences. Chapter 5 is about the conclusions of this study together with the suggestions for further studies. From this study, the researcher concludes the concepts of Carvaka philosophy as follows: 1. Carvaka Philosophy is a doctrine that is a strict with materialism and refuses the belief in Veda Bible (Scripture) and Brahmana rites. It persists in seeking materialistic comforts, based on the belief that humans beings are born only once. There is no rebirth, no future existence, no hell, no heaven, and no virtues. There is only the present time. (Whatever there is only exists in the present.) 2. In Carvaka Philosophy there is a belief in the concept that the truth is to be proved only through sensual contacts. It refuses every other teaching, but the teaching about how to lead one’s life. Carvaka Philosophy teaches the people to seek full pleasures, especially physical pleasures while they are still living, because the only goal of life is materialistic happiness. Such teaching destroys the moral principles in present’s societies. 3. The concept that birth at the present time is the only one birth which means that when one dies there is no rebirth has influenced people in modern societies. Although the people may not believe in all the concepts held by the Carvaka, they have the instinct rights from their births to seek for the materialistic pleasures in order to possess happiness more than others people. Hence, they became the preys and are unaware to the systems of capitalism and consumerism. Such pleasures are the worldly that cause the people not to be different from other creatures.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: library@mcu.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Issued: 2556-09-27
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
RightsAccess:
ใช้เวลา
-0.98496 วินาที

พระครูปลัดสุวัฒนพุทธคุณ จนฺทาโภ
พระมหากฤษณะ ตรุโณ, ผศ. ดร., ป.ธ. ๓, พธ.บ.,พธ.ม., Ph.D.
Title Creator Type and Date Create
ศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาจารวาก
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระมหากฤษณะ ตรุโณ, ผศ. ดร., ป.ธ. ๓, พธ.บ.,พธ.ม., Ph.D. ;รศ.ดร. ประเวศ อินทองปาน ป.ธ. ๕, พธ.บ., M.A., Ph.D.;ดร. วีรชาติ นิ่มอนงค์ ป.ธ. ๖, พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)ศษ.บ., M.Phil., Ph.D.
พระครูปลัดสุวัฒนพุทธคุณ จนฺทาโภ
วิทยานิพนธ์/Thesis
รศ.ดร. ประเวศ อินทองปาน ป.ธ. ๕, พธ.บ., M.A., Ph.D.
Title Creator Type and Date Create
ศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาจารวาก
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระมหากฤษณะ ตรุโณ, ผศ. ดร., ป.ธ. ๓, พธ.บ.,พธ.ม., Ph.D. ;รศ.ดร. ประเวศ อินทองปาน ป.ธ. ๕, พธ.บ., M.A., Ph.D.;ดร. วีรชาติ นิ่มอนงค์ ป.ธ. ๖, พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)ศษ.บ., M.Phil., Ph.D.
พระครูปลัดสุวัฒนพุทธคุณ จนฺทาโภ
วิทยานิพนธ์/Thesis
ดร. วีรชาติ นิ่มอนงค์ ป.ธ. ๖, พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)ศษ.บ., M.Phil., Ph.D.
Title Creator Type and Date Create
ศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาจารวาก
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระมหากฤษณะ ตรุโณ, ผศ. ดร., ป.ธ. ๓, พธ.บ.,พธ.ม., Ph.D. ;รศ.ดร. ประเวศ อินทองปาน ป.ธ. ๕, พธ.บ., M.A., Ph.D.;ดร. วีรชาติ นิ่มอนงค์ ป.ธ. ๖, พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)ศษ.บ., M.Phil., Ph.D.
พระครูปลัดสุวัฒนพุทธคุณ จนฺทาโภ
วิทยานิพนธ์/Thesis
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 5
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2,071
รวม 2,076 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 214,756 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 685 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 554 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล = 49 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 43 ครั้ง
สถาบันพระบรมราชชนก = 24 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 5 ครั้ง
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ = 4 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสงฆ์ = 1 ครั้ง
รวม 216,121 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.133
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.48