แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

Academic development of EFL students in an English-mediated program
รายงานการวิจัยพัฒนาการทางวิชาการของนักศึกษาไทยในโครงการภาษาอังกฤษ

Organization : King Mongkut's University of Technology North Bangkok
Email : @kmutnb.ac.th
keyword: Foreign language education
LCSH: ENGLISH LANGUAGE -- STUDY AND TEACHING
; งานวิจัยวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
LCSH: STUDY SKILL
LCSH: INTERNATIONAL EDUCATION
Noted: Grant Source King Mongkut
Abstract: สืบเนื่องจากกระแสโลกาภิวัฒน์และความก้าวหน้าต่างๆในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ทุกส่วน ของโลกมีความเชื่อมโยงต่อกันมากขึ้นและสลับซับซ้อนมากขึ้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาของพลเมืองโลก เพื่อสนองตอบการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 สถานศึกษาต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการ จัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรเช่นเดียวกับหลักสูตรไทยแต่เปลี่ยนภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในชั้นเรียน เป็นภาษาอังกฤษ หรือ การนำหลักสูตรนานาชาติเข้ามาสอนในสถานศึกษานั้น โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็น เครื่องมือสื่อสารในห้องเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาไทยเป็นผู้มีความรู้ทั้งทางด้านเนื้อหาสาระ แต่ละวิชาและ เป็น“พลโลก” ที่มีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นตัวกลางในสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล โครงการวิจัยชุดนี้ มุ่งศึกษาว่าพัฒนาการทางวิชาการของนักเรียนไทยที่ศึกษาอยู่ในหลักสูตร นานาชาติหรือภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษาปลายหรือเทียบเท่า การศึกษาชิ้นนี้ต้องการทราบกลยุทธ์ การเรียนทางภาษาที่นักศึกษานำมาประยุกต์ใช้เพื่อเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนต่างๆในหลักสูตร กรณีศึกษา 2 ประเด็นคือ บทบาทของอาจารย์ชาวต่างประเทศทั้งที่เป็นเจ้าของภาษาอังกฤษที่มีต่อการจัดการเรียนการ สอนในหลักสูตรภาษาอังกฤษในห้องเรียนในประเทศไทยและปัจจัยด้านต้นทุนทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการ เรียนรู้ แบบทดสอบ Strategy Inventory for Language Learning (SILL) ที่มีจำนวน 50 ข้อซึ่ง Oxford (1990) เป็นผู้พัฒนาถูกนำมาใช้แบบสำรวจกลยุทธ์การเรียนของหลักสูตรภาษาอังกฤษ 3 หลักสูตร ในสถานศึกษา 3 แห่งในกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังการเก็บข้อมูลยังมาจากหลากหลายแหล่ง อาทิ การสัมภาษณ์ และ การรวบรวมเอกสาร เพื่อให้เห็นเข้าใจภาพรวมของความท้าทายทางการศึกษาในการ จัดการเรียนการสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อสร้างนักศึกษา “พลโลก” โดยสถานศึกษาท้องถิ่น กลุ่ม ตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ตั้งแต่ชั้น มัธยมศึกษาที่ 4 ถึง 6 จากข้อมูลที่ได้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลจัดลำดับ metacognitive strategies (X = 3.6492) compensation strategies (X = 3.6062) และ cognitive strategies (X= 3.5772) เป็นกลยุทธ์สาม อันดับแรกที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อเข้าใจเนื้อหาบทเรียน ในขณะที่ affective strategies เป็นกลยุทธ์ที่กลุ่ม ตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลจัดลำดับว่า เป็นกลยุทธ์ที่ใช้น้อยที่สุดในการเกื้อหนุนการเรียนในหลักสูตรภาษาอังกฤษ ในส่วนของกรณีศึกษาเรื่อง บทบาทของอาจารย์ชาวต่างประเทศทั้งที่เป็นเจ้าของภาษาอังกฤษที่มีต่อการ จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรภาษาอังกฤษ พบว่ามีช่องว่างในการสร้างความเข้าใจระหว่างสถานศึกษา กับอาจารย์ผู้สอน ความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการเรียนของนักศึกษาไทยและ วัฒนธรรมองค์กรรวมถึงความคาดหวังขององค์กรเป็นประเด็นที่กล่าวย้ำบ่อยครั้งในบทสัมภาษณ์ แต่กระนั้น ผู้ให้ข้อมูลกลับเห็นด้วยกับการจ้างอาจารย์ชาวต่างประเทศมาสอนในหลักสูตรมากขึ้นทั้งในวิชา ภาษาอังกฤษและวิชาเนื้อหาหลักอื่นๆๆ โดยไม่เจาะจงว่าจะเป็นเจ้าของภาษาโดยตรงหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อจะได้ เรียนรู้ภาษาอังกฤษและวัฒนธรรมการเรียนแบบ “ตะวันตก” จากอาจารย์ผู้สอนชาวต่างชาติ ซึ่งจะทำให้ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้เปรียบในเรื่องการศึกษาต่อและการทำงานในอนาคต กรณีศึกษาเรื่อง ต้นทุนทาง วัฒนธรรมที่มีผลต่อสัมฤทธิผลทางวิชาการในหลักสูตรภาษาอังกฤษนั้นๆ พบ ความสัมพันธ์ระหว่างการ เรียนรู้ที่บ้านและโรงเรียน การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและครอบครัวมีผลอย่างยิ่งต่อต้นทุนทางวัฒนธรรม (cultural capital) ซึ่งเป็นทุนที่ใช้เวลาสั่งสมที่ยาวนานของผู้เรียนแต่ละคนและความสำเร็จต่อการเรียนรู้ และ พัฒนาการทางวิชาการของกลุ่มนักศึกษาที่ให้ข้อมูลในสถานศึกษาปัจจุบัน ข้อมูลที่ได้ชี้ให้เห็นว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอาทิ อาจารย์สอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ อาจารย์สอนวิชาเนื้อหา และผู้บริหารโครงการควรตระหนักถึงกลยุทธ์และปัจจัยต่างๆที่เกื้อหนุนต่อ พัฒนาการทางวิชาการที่มีผลต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนานาชาติหรือหลักสูตรภาษาอังกฤษ ในประเทศไทยเพื่อเพิ่มพูนพัฒนาทางวิชาการให้นักศึกษาในภาพรวมให้สูงขึ้น การจัดอบรมกลยุทธ์การ เรียนอาจช่วยลดช่องว่างผลสัมฤทธิผลทางวิชาการ นอกจากนี้ การมีส่วนรวมของผู้ปกครองเป็นอีกหนึ่ง ปัจจัยที่ผู้บริหารหลักสูตรภาษาอังกฤษควรคำนึงในการช่วยให้นักศึกษาประสบความสำเร็จในการเรียน กล่าวโดยสรุป ผลการวิเคราะห์ที่ได้ให้ข้อมูลในการจัดสภาพการเรียนที่เกื้อหนุนต่อการเรียนและ บรรเทาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางการสื่อสาร อีกทั้งให้ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรและการบริหารจัดการหลักสูตรนานาชาติหรือหลักสูตร ภาษาอังกฤษในประเทศไทยในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน ประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ชาวต่างประเทศในประเทศไทย
Abstract: The globalization and advances in information technology has led the world to become far more interconnected and complex. This phenomenon results on the burgeoning significance of the English language as a global language. In respond to the changing world of the 21st century, many schools in Asia have offered more international and English programs where English is used as a main medium of instruction. The ultimate goal is to prepare global students to become knowledgeable in both content subjects and language skills. This study report explored academic development students in an Englishmediated program at the senior high school and equivalent. More specifically, the paper uncovered language learning strategies employed the EFL students to comprehend their English texts and lectures, the role of native English speaking (NS) teachers in the course of the studies at the English-mediated program administered by the localm, and cultural capital had influenced their academic pursuit. The 50-item Strategy Inventory for Language Learning (SILL) developed by Oxford (1990) was used as a questionnaire for a quantitative data on language learning strategies perceived to be employed by the students from three English-mediated programs in three different schools in Bangkok. The informants were studying in the senior high school or equivalent, ranging from Grade 10 to Grade 12. The findings showed that students ranked metacognitive strategies (X = 3.6492) compensation strategies (X = 3.6062) และ cognitive strategies (X= 3.5772) as their fisrt three frequently used strategies when dealing with English texts and instruction. Affective strategies is the least frequently used strategies. In addition to a quantitative study on language learning strategies, a picture of this particular educational challenge imposed upon these global students was weaved together through such other multiple sources of data as an interview and document collecting as a case study. In terms of the role of native English speaking teachers, the findings, as a case study from one school under investigation, revealed the misunderstanding gap between the educational institute and the teachers themselves. Discrepencies regarding intercultural understandings related to Thai learning styles and institutional culture and expectation were discursively mentioned by NS teachers. However, viewing the exposure to NS teacher-led classes as means to competitive advantage in the future education and career, NNS students showed their acceptance of the higher employment rate of NS teachers, regardless of the nationality, for both English and content subject classes as ways to learn about and internalize the target language and “western” learning approach. For a case study on cultural capital, the data suggested the interaction between home and school learning practice. Parents and family play a major role in academic cultural capital. The academic achievement at the current educational institute has attributed to parental involvement before the entry to the current school Given this, it is imperative every party involved-- EFL students and teachers, content subject teachers, and program administrators-- be trained to become aware of language learning strategies involved in order to enhance students’ learning capacity and understanding during the course of their studies. For the program administrator, a training course related to language learning strategies may be set up to bridge the gap in the English-mediated content class. In addition, parental involvement is another factor the innovative English-mediated program administrator needs to take into consideration in helping students learn successfully. In sum, the findings shed light on how to provide on supportive learning environment and ways to deconstruct barriers in the delivery of lessons in English in the English-mediated program. The report also suggests useful information for curriculum design and educational administration in the Thai international or English program, especially teaching effectiveness of foreign teachers in Thailand.
King Mongkut University of Technology North Bangkok. Central Library
Address: Bangkok
Email: library@kmutnb.ac.th
Role: funding agency
Created: 2556
Modified: 2013-09-13
Issued: 2013-09-13
งานวิจัย/Research report
application/pdf
CallNumber: E-RESEARCH
eng
©copyrights King Mongkut's University of Technology North Bangkok
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 B1571486x.pdf 366.82 KB55 2022-12-13 13:38:40
ใช้เวลา
0.018291 วินาที

Prapai Jantrasakul
Title Contributor Type
Academic development of EFL students in an English-mediated program
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Prapai Jantrasakul

งานวิจัย/Research report
Bridge the gap : what have been missing in an EFL class?
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Prapai Jantrasakul
King Mongkut's University of Technology North Bangkok. College of Indsutrial Technology
งานวิจัย/Research report
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 62
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2,945
รวม 3,007 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 105,448 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 250 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 178 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล = 28 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 14 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 2 ครั้ง
สถาบันพระบรมราชชนก = 2 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสงฆ์ = 1 ครั้ง
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ = 1 ครั้ง
รวม 105,924 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.133
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.48