แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

ศึกษาการบำบัดความหิวในพระพุทธศาสนาเถรวาท

keyword: พระพุทธศาสนาเถรวาท
Abstract: บทคัดย่อ วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาการบำบัดความหิวในพระพุทธศาสนาเถรวาท โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษาความหิวที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาการบำบัดความหิวในพระพุทธศาสนาเถรวาท และเพื่อศึกษาอิทธิพลและคุณค่าของหลักการบำบัดความหิว จากการวิจัยพบว่าความหิวคือความต้องการจะกิน มีลักษณะอาการเสียดแทงให้เจ็บปวด จัดว่าเป็นโรคชนิดหนึ่งซึ่งเป็นยอดแห่งโรค เพราะรักษาให้หาดขาดไม่ได้ สามารถเกิดได้ตามปกติของร่างกาย และเกิดจากภาวะทางใจด้วยอำนาจของตัณหา ความหิวปรากฏแก่คนและสรรพสัตว์แม้ในผู้ไม่มีกิเลสแล้วก็ยังมีความหิวอยู่เช่นกัน คนธรรมดาหิวในสิ่งที่เป็นของบริโภคได้แต่คนตั้งครรภ์สามารถหิวในสิ่งที่คนธรรมดาไม่นิยมบริโภคก็ได้ ความหิวของคนตั้งครรภ์ยังเป็นการทำนายทารกที่จะเกิดได้ว่าดีหรือไม่ดี ความหิวมีอิทธิพลต่อการพัฒนาตนเองและสามารถเป็นอันตรายต่อผู้อื่นรวมถึงสัตว์และธรรมชาติด้วย การบำบัดความหิวคือการบริโภค ตามแนวทางในพระพุทธศาสนาเถรวาทเมื่อจำแนกแล้วมีกระบวนการตั้งแต่การแสวงหาปัจจัยคืออาหารที่นำมาบำบัด การนำพุทธจริยวัตรของพระพุทธองค์มาเป็นแบบอย่าง เช่น การฉันมื้อเดียว หลักธรรมวินัยเป็นเครื่องมือในการบำบัดคือ ให้มีสติสัมปชัญญะ ไม่ให้มัวเมาเพลิดเพลินในทางสนองตัณหา แต่มุ่งการบริโภคเพื่อบำบัดความหิว มุ่งหมายให้ได้คุณค่าที่แท้ของการบริโภค ผู้บริโภคอย่างมีสติพิจารณาทั้งขณะได้รับอาหาร ขณะบริโภคและหลังบริโภค รู้ประมาณในการบริโภค เป็นผู้สันโดษตามที่ได้ จัดว่ายอดเยี่ยมกว่าการบริโภคทุกรูปแบบ การบำบัดความหิวตามหลักการในพระพุทธศาสนายังทรงความมีอิทธิพลและคุณค่า สำหรับตัวบุคคลผู้ปฏิบัติตามหลัก จะเป็นผู้มีโรคน้อย มีสุขภาพดี สามารถพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขาได้เป็นอย่างดี เพราะมีการบำบัดความหิวนี้จึงมีการสงเคราะห์สถานสงเคราะห์ เกิดความสัมพันธ์กันในสังคมอย่างแพร่หลาย และหลักการนี้ยังเป็นลดการทำลายและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หลักการนี้ยังถูกนำมาใช้และสอนกันอยู่ในสังคมไทยอย่างแพร่หลาย
Abstract: Abstract This thesis is the study of the hunger cure in Theravda Buddhism with three objectives :- to study the hunger that appears in Buddhist Doctrine, to study the cure of hunger in Theravda Buddhism and to study the influence and the worth of the principle to treat the hunger. From the research, found it is that the hunger is the desire or need to eat. It can be excruciatingly painful and is regarded as one of the top diseases, because it cannot be completely eradicated. It can arise naturally or arise from craving. Hunger occurs in all and the hunger Beings who are of no defilements. The normal people are hungry for edible foods, but the pregnant people may crave the something unusual. The symptom of sickness in pregnant women can predict the condition of the newborns. The hunger can diminish the self-development and endanger others including the animals. The cure of hunger is by consuming. Theravda Buddhism laid down the practices of seeking food, following the Buddha’s way of behavior, for example, to eat a single meal per day. The code of discipline to cure the hunger is the mindfulness and consciousness. One must not be indulged to satisfy the greed, but to consume to cure the hunger with the aim to attain the real value of the consumption. One should consciously be aware during receiving the food, consuming the food and after consuming the food, and eating the right portion, being satisfied with what one has, the fact of which is the best consuming manner. The Buddhist way to cure the hunger is of the good consequences for the practitioners, such as they will be healthy, be able to develop themselves well according to the Threefold Training. The rising of the charitable centers to help the hungers, to foster a good relationship in the societies. The code of conduct also decreases the destruction and conserves the natural resources and the environments, This principle is also widely applied to and taught in Thai societies.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: library@mcu.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Issued: 2556-09-06
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
RightsAccess:
ใช้เวลา
-0.962383 วินาที

พระมหาทวี มหาปญฺโ (ละลง), ผศ. ดร., ป.ธ. ๙, พธ.บ. (ปรัชญา),ศน.ม. (พุทธศาสน์ศึกษา), M.Phil., Ph.D. (Buddhist Studies)
Title Creator Type and Date Create
ศึกษาการบำบัดความหิวในพระพุทธศาสนาเถรวาท
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระมหาทวี มหาปญฺโ (ละลง), ผศ. ดร., ป.ธ. ๙, พธ.บ. (ปรัชญา),ศน.ม. (พุทธศาสน์ศึกษา), M.Phil., Ph.D. (Buddhist Studies);พระมหาอุดม สารเมธี (สารบรรณ), ป.ธ.๙, ศษ.บ., พธ.ม. ;ดร. เสนาะ ผดุงฉัตร, ป.ธ.๙, พ.ม., พธ.บ., M.A., พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
พระมหาอภิสิทธิ์ วิริโย (จอดนอก)
วิทยานิพนธ์/Thesis
พระมหาอุดม สารเมธี (สารบรรณ), ป.ธ.๙, ศษ.บ., พธ.ม.
Title Creator Type and Date Create
ศึกษาการบำบัดความหิวในพระพุทธศาสนาเถรวาท
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระมหาทวี มหาปญฺโ (ละลง), ผศ. ดร., ป.ธ. ๙, พธ.บ. (ปรัชญา),ศน.ม. (พุทธศาสน์ศึกษา), M.Phil., Ph.D. (Buddhist Studies);พระมหาอุดม สารเมธี (สารบรรณ), ป.ธ.๙, ศษ.บ., พธ.ม. ;ดร. เสนาะ ผดุงฉัตร, ป.ธ.๙, พ.ม., พธ.บ., M.A., พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
พระมหาอภิสิทธิ์ วิริโย (จอดนอก)
วิทยานิพนธ์/Thesis
ดร. เสนาะ ผดุงฉัตร, ป.ธ.๙, พ.ม., พธ.บ., M.A., พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
Title Creator Type and Date Create
ศึกษาการบำบัดความหิวในพระพุทธศาสนาเถรวาท
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระมหาทวี มหาปญฺโ (ละลง), ผศ. ดร., ป.ธ. ๙, พธ.บ. (ปรัชญา),ศน.ม. (พุทธศาสน์ศึกษา), M.Phil., Ph.D. (Buddhist Studies);พระมหาอุดม สารเมธี (สารบรรณ), ป.ธ.๙, ศษ.บ., พธ.ม. ;ดร. เสนาะ ผดุงฉัตร, ป.ธ.๙, พ.ม., พธ.บ., M.A., พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
พระมหาอภิสิทธิ์ วิริโย (จอดนอก)
วิทยานิพนธ์/Thesis
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 6
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2,147
รวม 2,153 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 214,948 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 685 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 555 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล = 49 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 43 ครั้ง
สถาบันพระบรมราชชนก = 24 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 5 ครั้ง
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ = 4 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสงฆ์ = 1 ครั้ง
รวม 216,314 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.134
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.48