Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกชำแระ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดฝึกเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ .48 - .72 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .36 - .76 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดฝึกเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.16 / 80.41 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The purposes of this research were to develop packages on basic - mathematical skills for early childhood level 1 children based on the standardized criteria of 80/80, and to compare the children learning achievement before and after using the packages.
The sample used in this study consisted 30 children of the first year Early Childhood level at Ban Khokchumrae School, under Ubon Ratchathani Educational Service Area Office 5. The research instruments were the packages and the learning achievement test in basic - mathematical skills. The test difficulty indices ranged from .48 - .72, the discrimination indices ranged from .36 - .76, and the reliability value was .95. The collected data were analyzed by the percentage, mean, standard deviation, and t-test.
The research findings were as follows:
1. The packages were efficient since the criteria were found at 82.16/80.41 based on the determined criteria of 80/80.
2. The children's achievement after using the packages was statistically higher than that before using them at .01 level of significance.