Production and Marketing of a Wrapped Herbal Plants : A Case Study of Thai Traditional Medicine Group of Ban Napin in Trakan District of Ubon Ratchathani Province
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการดำเนินงานด้านการผลิตลูกประคบสมุนไพร ของกลุ่มแพทย์แผนไทยตำบลนาพิน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี (2) ศึกษาการจัดการด้านการตลาดลูกประคบสมุนไพร ของกลุ่มแพทย์แผนไทยตำบลนาพิน (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ด้านการผลิต การตลาด และแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร ของกลุ่มแพทย์ แผนไทย ตำบลนาพิน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มศึกษาที่ให้ข้อมูลใน การวิจัย ครั้งนี้ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารกลุ่ม จำนวน 15 คน และสมาชิกกลุ่มแพทย์แผนไทยตำบลนาพิน จำนวน 20 คน รวมทั้งหมด 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง การสนทนา พบปะกลุ่ม และการสังเกต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัย พบว่า
การผลิตลูกประคบสมุนไพร ของกลุ่มแพทย์แผนไทยตำบลนาพิน มีขั้นตอนในการผลิต ที่ละเอียดซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ออกมามีคุณภาพ ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบพืช สมุนไพร ซึ่งมีจำนวนหลายชนิด ทั้งประเภทที่ใช้ส่วนใบ ลำต้น หัว เปลือก/ผิว เถาว์ รวมทั้งหมด 22 ชนิด และส่วนผสมอื่นๆ ที่ไม่ใช่พืชสมุนไพร เช่น พิมเสน การบูร เกลือแกง พืชสมุนไพรที่ผ่าน การคัดเลือกแล้วต้องนำล้างน้ำทำความสะอาด ประเภทที่ใช้หัว ลำต้น เถาว์ เปลือกหั่นบางๆ แล้ว ตากแดด 3-4 แดดจนแห้ง แล้วนำเข้าเครื่องอบเสร็จแล้วเก็บไว้ในถุงพลาสติกปิดรัดปากถุงกัน ฝุ่นละออง ก่อนจะนำสมุนไพรที่ผ่านการอบที่เก็บไว้ในถุงพลาสติกมาบดละเอียด ต้องนำสมุนไพร มาอบอีกครั้งหนึ่ง ค่อยนำมาบดละเอียดรวมกัน อัตราส่วนอย่าง 5 กรัม โดยบดสมุนไพรประเภทที่ใช้หัว เปลือก เถาว์ ลำต้นก่อน แล้วค่อยนำสมุนไพรประเภทที่ใช้ใบมาบดผสมทีหลัง แล้วเติมพิมเสน การบูร เกลือแกง อย่างละ 1 กรัม บดเสร็จตามอัตราส่วนผสมแล้วนำมาห่อด้วยผ้าด้ายขาวด้วยน้ำหนักสุทธิ 200 กรัม ต่อ ห่อ มัดห่อลูกประคบด้วยเชือก แพ็คใส่ถุงพลาสติก แล้วบรรจุในกล่องบรรจุภัณฑ์ จะเห็นได้ว่าการผลิตลูกประคบสมุนไพร ของกลุ่มแพทย์แผนไทยตำบลนาพิน มีขั้นตอน ที่ละเอียดมีความชำนาญ ทั้งนี้ประธานกลุ่มต้องคอยควบคุม ดูแลการผลิตทุกขั้นตอน
การจัดการด้านการตลาดลูกประคบสมุนไพร ของกลุ่มแพทย์แผนไทยตำบลนาพิน มีช่องทางการจำหน่าย 5 ช่องทาง คือ (1) จำหน่าย ณ ที่ทำการกลุ่มแพทย์แผนไทยตำบลนาพิน ที่ตั้งหมู่ที่ 1 ตำบลนาพิน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี (2) จำหน่ายในงานเทศกาล หรืองานแสดงสินค้าต่าง ๆ ที่ทางอำเภอและจังหวัดจัดขึ้น เช่น งานกาชาดและงานปีใหม่ งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา งานแสดงสินค้า OTOP ทั้งจังหวัดอุบลราชธานี และต่างจังหวัดจัดขึ้น (3) จำหน่าย ณ ศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจรระดับอำเภอ (4) จำหน่ายให้เครือข่ายกลุ่มแพทย์แผนไทย (5) จำหน่ายให้ห้าง/ร้าน ผู้ประกอบการภายในจังหวัด และต่างจังหวัด ภายใต้เครื่องหมายลูกประคบสมุนไพร ตราต้นหว้าน น้ำหนักสุทธิ 200 กรัม ต่อ ห่อ
ปัญหาอุปสรรค ด้านการผลิต พบว่าวัตถุดิบพืชสมุนไพรบางชนิดหายากต้องจัดหานอกพื้นที่อำเภอ เช่น เถาว์เอ็นอ่อน ต้นทุนการผลิตสูงเนื่องจากวัตถุดิบพืชสมุนไพรราคาสูง ต้องจัดหาซื้อตามท้องตลาด เช่น หัวโกฎิ วัสดุอุปกรณ์ในการผลิตไม่เพียงพอ อาคารสถานที่คับแคบ
ปัญหาอุปสรรคด้านการตลาด พบว่าช่องทางการตลาดมีน้อย ตลาดแคบเพราะการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนในปัจจุบันมีทางเลือกหลากหลายวิธี ค่าขนส่งมีราคาสูง
แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ตั้งแต่การอบ บด การฆ่าเชื้อ การชั่งปริมาณให้ได้มาตรฐาน และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการแพ็กเก็ตจิ้ง การสร้าง อัตลักษณ์ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เป็นที่ต้องการของตลาดที่ในและนอกประเทศ
The research aimed to study (1) the procedures in producing wrapped herbal plants of Thai traditional medicine network of Napin in Trakan district, (2) the problems in production, marketing and guidelines in producing wrapped herbal plants.
The informants in study were 15 group executive committees, and 20 members of Thai traditional medicine group. Research instruments used to collect data were structured interview record, non-structured interview, group discussion and observation.
The research findings were as follows :
The production process of herbal plants by Thai traditional medicine group in study was very elaborate. The process began from choosing a variety of raw materials of herbal plants and non-herbal plants, totaling 22 species.
The herbal plants that were chosen were washed clean. Then they were sliced into thin pieces and dried up in the sun for 3-4 days. After that, they were collected and stored in a plastic bag. The herbs were pound in a ratio of 5 grams of the ingredients. Cloves, barks, vine and stems of herbal plants were first pound; leaves were processed then. After the pounding process was completed, processed ingredients were wrapped in a white cloth weighing 200 grams per bundle.
The wrapped herbal plant production was distributed in the following channels.
1. It was sold at the center of the Thai traditional medicine network in Ban
Napin in Trakan district.
2. The product was on sale at festival or fairs.
3. The product was on sale at a communal economy center of the district.
4. The product was sold to Thai traditional medicine network.
5. The product was sold to other distributors.
The problems found in a production process were that some raw materials were scarce. The cost was high thanks to a high price of herbal plants. Instrument used in a production process was not sufficient and a working space was not ample. Concerning marketing, there were few marketing option. This was because people at present had a wide variety of health care available for them. In producing the product, technology was to be introduced to standardize all the processes.