แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

Preliminary study of biodiesel production from canteen's trap grease
การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการผลิตน้ำมันดีเซลชีวภาพจากกากไขมันโรงอาหาร

LCSH: Biodiesel fuels
LCSH: Recycling (Waste etc) -- Thailand
LCSH: Oils and fats -- Thailand -- Recycling (Waste etc)
Abstract: The objective of this research was to produce biodiesel from trapped grease. Greased was collected from the grease trap of the central canteen of Mahidol University, Salaya Campus, and then passed through the extraction unit to extract the unwanted matters. This product was able to be transformed into ethyl ester, biodiesel, by using the transesterification reaction, in the present of acidic catalyst of concentrated sulfuric acid. The 100% access ethanol was involved to accomplish the reaction by the molecular ratio of 30:1 between ethanol and grease. At 90 oC for 90 minutes, the finished process provided the biodiesel of 95.17% by volume. The results indicated that biodiesel had API gravity value at 15oC of 0.90 g/cm3, viscosity value at 40oC of 8.69 mm2/s, flash point value of 184oC, and heat value of 9,685.35 Cal/g. After blending, to local diesel, the property test shown that there were no statistical differences between the blends and baseline diesel at the significant of 0.01 level. With testing engine performance, the reported graph of torque and power exhibited that the blends’ seemed to be slightly higher than diesel. Moreover, the entire results of correlation value of every samples’ graph were in range of 0.97 – 0.99 which could be declared that the blends were replaceable to diesel in every ratio. According to the results of those fuel specific properties and engine performance tests, it can statistically concluded that canteen’s trap grease was able to be transformed to ethyl ester, biodiesel, and every ratio of diesel/biodiesel blend had the potentiality to substitute to diesel. Yet, there were little differences investigated among the blends which could be supported that the most suitable blend which had the best performance compared to diesel was B15.
Abstract: งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพของน้ำมันดีเซลชีวภาพที่ผลิตจากกากไขมันของบ่อดัก ไขมันบริเวณโรงอาหาร โดยทำการเก็บรวบรวมกากไขมันดังกล่าวจากโรงอาหารกลางของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา นำมาสกัดแยกของเสียอื่นที่ไม่ใช่ไขมันออกแล้วจึงผ่านปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่นภายใต้ สภาวะความเป็นกรด โดยทำปฏิกิริยากับเอธานอลด้วยอัตราส่วนระหว่างเอธานอลต่อไขมัน เท่ากับ 30:1 ที่อุณหภูมิ 90°ซ เป็นเวลา 90 นาที ได้สารเอธิลเอสเทอร์ร้อยละ 95.17 โดยปริมาตร นำเชื้อเพลิงดังกล่าว ผสมเข้ากับน้ำมันดีเซลในอัตราส่วนผสมดีเซลชีวภาพร้อยละ 5, 10, 15 และ20 แล้วจึงนำไปผ่านกระบวนการ ทดสอบสมบัติต่างๆ พบว่า ค่าที่ได้จากการทดสอบความถ่วงจำเพาะ, ความหนืด, จุดวาบไฟ และค่าความร้อนของเชื้อเพลิงผสม ทุกชนิด ไม่มีความแตกต่างกับค่าเดียวกันที่ทดสอบกับน้ำมันดีเซล ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 เมื่อนำเชื้อเพลิงผสมทุกอัตราส่วนทดสอบการทำงานกับเครื่องยนต์ของรถยนต์ดีเซลขนาด 2,494 ซีซี, 4 สูบ, 90 แรงม้า เทียบกับน้ำมันดีเซลพบว่า ที่รอบการทำงานปกติ (1,500 – 3,000 rpm) ค่าแรงบิด และ กำลังของเครื่องยนต์ของเชื้อเพลิงผสมมีค่าสูงกว่าของดีเซลเล็กน้อย แต่ในช่วงรอบการทำงานของเครื่องยนต์ที่ 3,100 – 3,900 rpm มีการตกลงของกราฟแสดงผลเมื่อเทียบกับดีเซล และกลับขึ้นมาเท่ากับดีเซลอีกครั้งที่ ประมาณรอบการทำงานที่ 4,000 rpm เมื่อนำกราฟแสดงผลที่ได้จากเชื้อเพลิงทุกประเภทมาหาค่าสัมประสิทธิ์ ความสัมพันธ์ระหว่างรอบการทำงานของเครื่องยนต์กับค่าแรงบิด และกำลังเครื่องยนต์พบว่ามีค่าอยู่ระหว่าง 0.97 – 0.99 ทั้งสิ้น ถือว่าเชื้อเพลิงผสมสามารถใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลได้ทุกอัตราส่วน จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า กากไขมันจากบ่อดักไขมันโรงอาหาร สามารถผ่านปฏิกิริยาทรานส์ เอสเทอริฟิเคชั่นได้สารเอธิลเอสเทอร์ เมื่อผสมเข้ากับน้ำมันดีเซลให้สมบัติความเป็นเชื้อเพลิงและการทำงานของ เครื่องยนต์ไม่แตกต่างกับน้ำมันดีเซลในทุกอัตราส่วนผสม โดยอัตราส่วนที่ให้ผลการทดสอบที่ดีที่สุดคือ เชื้อเพลิงผสมดีเซลชีวภาพร้อยละ 15
Mahidol University
Address: NAKHONPATHOM
Email: liwww@mahidol.ac.th
Role: Thesis Advisors
Created: 2006
Modified: 2010-06-19
Issued: 2010-06-15
CallNumber: TH K17p 2006
eng
Spatial: Thailand
Spatial: Thailand
DegreeName: Master of Science
©copyrights
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 4537478.pdf 16.8 MB72 2024-09-11 22:29:39
ใช้เวลา
0.217057 วินาที

Kappaput Thong-innatra
Title Contributor Type
Preliminary study of biodiesel production from canteen's trap grease
มหาวิทยาลัยมหิดล
Kappaput Thong-innatra
Runjarat Hutacharoen
วิทยานิพนธ์/Thesis
Runjarat Hutacharoen
Title Creator Type and Date Create
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 0
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 3,823
รวม 3,823 คน

More info..
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.136
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.10