แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

Origin of colloidal behavior of natural rubber particles
การศึกษาที่มาของพฤติกรรมความเป็นคอลลอยด์ของอนุภาคยางทางธรรมชาติ

LCSH: Colloids
MeSH: Rubber -- Analysis
Abstract: Colloidal natural rubber (NR) latex is believed to be covered by some proteins and phospholipids, which derive colloidal stability of natural rubber latex. The present work is an attempt to study the origin of colloidal behavior of natural rubber latex and the components, which act to stabilize the colloidal system. Proteins in the cream fraction of NR latex were decomposed by treatment with a proteolytic enzyme. Proteins from both cream and serum fractions were characterized by SDS-PAGE. Then, the latex was further treated with NaOH to decompose residual proteins and phospholipids. It was found that the rubber particles in the cream fraction showed different protein compositions from that of the serum phase. The major proteins in rubber particles and the serum phase were 14.5, 25, 29 kDa, and regions of 6 to more than 200 kDa, respectively. Some molecular weight proteins were similar to rubber elongation factor (14.5 kDa) and hevamines (29 kDa). Characterization of the extracted linked phospholipids received from saponification treatment of dry AENR, was carried out by 13C-NMR spectroscopy and GC-MS, compared with the data base. The 13C-NMR spectrum of the extracts          -- - -  -- The appearance of these signals indicated that this serum contains phospholipids linked to a rubber chain. The GC-MS chromatogram also revealed the presence of linked fatty acids derived from the decomposed phospholipids. The NR particle surface morphology before and after the removal of proteins and phospholipids was studied using an SEM and a zeta potential analyzer, with it was found that the surfaces of the rubber particles were replaced by a surfactant layer after the removal of phospholipid-protein layers by deproteinization and saponification. Therefore, the effect of various kinds of surfactants (SDS: anionic surfactant, Triton®X-100: nonionic surfactant and Levenol-RC: cationic surfactant) on colloidal behavior of the natural rubber particles during the deproteinization process were elucidated using a TEM and AFM technique. It was revealed that the deproteinized particles preserved by cationic surfactant were rapidly destabilized, while natural rubber particles were stable after deproteinization reaction with non-ionic and anionic surfactants
Abstract: ความเป็นคอลลอยด์ของน้ำยางธรรมชาติเชื่อกันว่ามีชั้นของฟอสฟอลิปิดและโปรตีนห่อหุ้มอนุภาคของยางเพื่อทำหน้าที่รักษาความเสถียรของน้ำยาง ดังนั้น จึงสนใจทำการศึกษาพฤติกรรมคอลลอยด์ของน้ำยางและองค์ประกอบที่ช่วยรักษาความเสถียรให้คอลลอยด์น้ำยาง ในขั้นแรกย่อยโปรตีนที่ผิวอนุภาคด้วยเอนไซม์ย่อยโปรตีนนำโปรตีนจากส่วนของยางและซีรัมที่ได้มาทำการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค SDS-PAGE แล้วทำการย่อยโปรตีนและฟอสฟอลิปิดที่เหลือด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์พบว่าโปรตีนจากผิวยางและที่ละลายอยู่ในซีรัมมีความแตกต่างกัน โดยโปรตีนที่ผิวอนุภาคยางมีขนาดเล็กคือ 14.5, 25 และ 29 kDa สำหรับในซีรัมมีขนาดใหญ่กว่ากระจายตัวอยู่ในช่วง 6 ถึง 200 kDa โปรตีนที่พบบางชนิดมีขนาดเท่ากับโปรตีนที่ชื่อ Rubber elongation factor (14.5 kDa) และ Hevamines (29 kDa) ส่วนการวิเคราะห์ฟอสฟอลิปิดที่สกัดได้หลังจากการทำปฏิกิริยา Saponification ของยาง AENR นั้นทำได้โดยใช้13 C-NMR และ GC-MS โดยอาศัยฐานข้อมูลซึ่งพบตำแหน่งสัญญาณหลักๆ ที่แสดงถึง -(CH2)n-, -CH2OP, -CH2OC=O and -OCH2CH2 NH- ในสเปกตรัมของ 13 C-NMR ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีฟอสฟอลิปิดเชื่อมอยู่กับโมเลกุลยางและโครมาโดแกรมของ GC-MS ยังระบุอีกว่าพบกรดไขมันที่เชื่อมอยู่กับอนุภาคยางซึ่งได้มาจากการย่อยสารฟอสฟอลิปิด ในการศึกษาโครงสร้างสัณฐานที่ผิวของอนุภาคยางก่อนและหลังสกัดสารโปรตีนและฟอสฟอลิปิดออกด้วย SEM และ Zeta potential analyzer พบว่าอนุภาคยางที่ถูกสกัดชั้นของฟอสฟอลิปิดโปรตีนออกโดยปฏิกิริยา Deproteinization และ Saponification ได้เกิดชั้นของสารลดแรงตึงผิวเข้ามาห่อหุ้มแทนที่ที่ผิว ดังนั้นจึงได้ศึกษาต่อถึงผลของสารลดแรงดึงผิวชนิดต่างๆ (SDS: สารลดแรงตึงผิวประเภทที่มีประจุลบ, Triton®X-100 : สารลดแรงตึงผิวประเภทที่ไม่มีประจุและ Levenol-RC : สารลดแรงตึงผิวประเภทที่มีประจุบวก) ที่มีต่อพฤติกรรมความเป็นคอลลอยด์ของอนุภาคยางทางธรรมชาติระหว่างการทำปฏิกิริยา Deproteinization ด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ TEM และAFM โดยพบว่าเกิดความไม่เสถียรขึ้นอย่างรวดเร็วของอนุภาคยางโปรตีนต่ำที่รักษาสภาพไว้ด้วยสารลดแรงตึงผิวประเภทที่มีประจุบวกในขณะที่อนุภาคยางที่รักษาสภาพไว้ด้วยสารลดแรงตึงผิวประเภทที่มีประจุลบและประเภทที่ไม่มีประจุระหว่างการทำปฏิกิริยา Deproteinization ยังคงมีความเสถียรอยู่
Mahidol University
Address: NAKHON PATHOM
Email: liwww@mahidol.ac.th
Role: Thesis Advisors
Created: 2006
Modified: 2553-06-17
Issued: 2010-06-04
ISBN: 9740476066
CallNumber: TH J61o 2006
eng
DegreeName: Master of Science
©copyrights
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 4736241.pdf 12.97 MB38 2018-05-29 11:08:20
ใช้เวลา
0.22525 วินาที

Jitlada Sansatsadeekul
Title Contributor Type
Jitladda Sakdapipanich
Title Creator Type and Date Create
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 0
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2,728
รวม 2,728 คน

More info..
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.134
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.149