แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

Utilization of zeolite industrial wastewater for removal of copper and zinc from copper-brass pipe industrial wastewater
การใช้ประโยชน์น้ำเสียจากขบวนการผลิตสารซีโอไลท์ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตท่อทองแดงทองเหลือง

MeSH: Copper
MeSH: Industrial Waste
MeSH: Waste Disposal, Fluid
MeSH: Zeolites
Abstract: The feasibility of using zeolite industrial wastewater (ZIW) as a sorbent and/or precipitant in removing Cu, Zn, and other pollutants in copper-brass pipe industrial wastewater (CIW) was investigated. The ZIW and CIW were sampled and determined for pH, Temperature, Biochemical Oxygen Demand (BOD5), Chemical Oxygen Demand (COD), Total solids (TS), Total dissolved solids (TDS), Total suspended solids (TSS) and heavy metals. Sorption isotherms of Cu and Zn in CIW onto solid of ZIW at various dilutions of CIW were explored. The relationship between Cu and Zn concentrations and their removal efficiencies under different conditions of wastewater pH, contact times, and ratios of CIW to ZIW was examined. Optimum treatment condition was selected and used for observation of their influence on the efficiency of treatment of other pollutants. ZIW contained various carbonate compounds which contributed to high pH and TDS values, and low heavy metals contamination whereas CIW had low pH value and was enriched with heavy metals especially Cu and Zn. Application of ZIW significantly increased the pH of CIW and remove heavy metals. The higher pH of the mixture enhanced metal removal. The Langmuir equation described sorption isotherms of heavy metals by solid of ZIW at neutral pH (6-7) while the Freundlich equation did well at pH values over12. The maximum Cu (97-98%) and Zn (92-96%) removal efficiencies occurred at non-adjusted pH condition (12.8) of ZIW, ratio of CIW to ZIW 3:1 (vol.:vol.) and 30 minutes of contact time. The efficiency of treatment under these treatment conditions of the pollutants, COD, TS, TDS and TSS was 40%, 2%, 2% and 23%, respectively. Further study should put an emphasis on increasing the treatment efficiency of TS and TDS. The economic feasibility of using ZIW should also be reviewed together with other significant circumstances.
Abstract: ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้น้ำเสียจากขบวนการผลิตสารซีโอไลท์เพื่อเป็นวัสดุดูดซับและ/หรือวัสดุตกตะกอนสำหรับ การกำจัดทองแดง สังกะสี และมลสารอื่นๆในน้ำเสียจากโรงงานผลิตท่อทองแดงทองเหลือง โดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำเสียทั้งสอง โรงงานมาวิเคราะห์หาค่าลักษณะสมบัติของน้ำเสีย ศึกษาถึงไอโซเทอมการดูดซับของอนุภาคของแข็งในน้ำเสียจากขบวนการผลิต สารซีโอไลท์ที่ความเข้มข้นของทองแดง และสังกะสีต่างๆ ตามการเจือจางน้ำเสียจากโรงงานผลิตท่อทองแดงทองเหลือง ศึกษาความ สัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของโลหะหนัก และ ประสิทธิภาพการกำจัดที่สภาวะต่างๆ คือความเป็นกรด-ด่าง ระยะเวลาทำปฏิกิริยา และอัตราส่วนระหว่างน้ำเสียจากโรงงานผลิตท่อทองแดงทองเหลืองต่อน้ำเสียจากขบวนการผลิตสารซีโอไลท์ โดยปริมาตร ผลของ การศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดทองแดง และสังกะสี ที่สภาวะต่างๆนี้จะนำไปใช้เพื่อทราบถึงประสิทธิภาพของการบำบัดมลสาร อื่นๆอีกต่อไป น้ำเสียจากขบวนการผลิตสารซีโอไลท์มีองค์ประกอบของคาร์บอเนตที่ทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าของแข็งละลายทั้ง หมดมีค่าสูง และโลหะหนักมีค่าต่ำ น้ำเสียจากโรงงานผลิตท่อทองแดงทองเหลืองมีค่าความเป็นกรด-ด่างค่อนข้างต่ำ และโลหะหนัก มีค่าสูง โดยเฉพาะค่าทองแดง และสังกะสี การประยุกต์ใช้น้ำเสียจากขบวนการผลิตสารซีโอไลท์มีผลต่อค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำ เสียจากโรงงานผลิตท่อทองแดงทองเหลือง และประสิทธิภาพการกำจัดสารโลหะหนักเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ค่าความเป็นกรด- ด่างของสารละลายผสมที่สูงขึ้นจะทำให้มีการกำจัดโลหะหนักมากขึ้น ไอโซเทอมของการดูดซับสำหรับอนุภาคของแข็งของน้ำเสีย จากขบวนการผลิตสารซีโอไลท์อธิบายได้ด้วยสมการของ Langmuir ที่สภาวะความเป็นกรด-ด่างอยู่ช่วงเป็นกลาง (6-7) ในขณะ ที่สภาวะความเป็นกรด-ด่างที่มากกว่า 12 อธิบายได้ด้วยสมการของ Freundlich โดยประสิทธิภาพในการกำจัดทองแดง และ สังกะสีสูงสุด คือ ร้อยละ 97-98 และ ร้อยละ 92-96 ตามลำดับ ที่สภาวะค่าความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำเสียจากขบวนการผลิตสารซีโอ ไลท์ที่ไม่มีการปรับ อัตราส่วน 3:1 โดยปริมาตร ณ. เวลาทำปฏิกิริยา 30 นาที และประสิทธิภาพการกำจัดมลสารอื่นๆที่สภาวะนี้พบ ว่าการลดค่าซีโอดี ของแข็งทั้งหมด ของแข็งละลายทั้งหมด และของแข็งแขวนลอยทั้งหมด มีค่าร้อยละ 40 2 2 และ 23 ตามลำดับ การศึกษาในครั้งต่อไปควรศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดค่าของแข็งทั้งหมด และของแข็งละลายทั้งหมด และควร ทำการศึกษาทบทวนความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ควบคู่กับสภาวะแวดล้อมอื่นๆที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์น้ำเสียจากขบวนการ ผลิตสารซีโอไลท์
Mahidol University
Address: NAKHON PATHOM
Email: liwww@mahidol.ac.th
Role: Thesis Advisors
Created: 2005
Modified: 2553-06-10
Issued: 2010-03-30
ISBN: 9740456537
CallNumber: TH T535u 2005
eng
DegreeName: Master of Science
©copyrights
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 4437106.pdf 2.83 MB75 2025-03-25 09:15:28
ใช้เวลา
0.236991 วินาที

Thunyaluk Muangsuwan
Title Contributor Type
Boosaba Sanguanprasit
Title Creator Type and Date Create
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 0
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 1,912
รวม 1,912 คน

More info..
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.134
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.149