แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

รายงานผลการวิจัยเรื่องเครือข่ายการสื่อสารเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาลำน้ำน้อย อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Communication networks for eco-tourism resource development : a case study of

Organization : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Organization : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ThaSH: การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน -- วิจัย
Classification :.DDC: 302.3
ThaSH: การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- การศึกษาเฉพาะกรณี -- วิจัย.
Abstract: การวิจัยเรื่อง เครือข่ายการสื่อสารเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษา “ลำน้ำน้อย” อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงสหวิทยาการ ผสมผสานรูปแบบการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเลือกชุมชนที่จะศึกษาสี่แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบลผักไห่ เทศบาลตำบลลาดชะโด องค์การบริหารส่วนตำบลหน้าโคก และองค์การบริหารส่วนตำบลลาดชิด ทั้งสี่แห่ง ตั้งอยู่ริมน้ำน้อยและเป็นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวและมีกิจกรรมเกี่ยวเนื่อง อาทิ. วัฒนธรรม ประเพณี การละเล่น หัตถกรรมพื้นบ้าน ดนตรี และอาหารพื้นบ้าน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1.) สังเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของอำเภอผักไห่จากอดีตถึงปัจจุบัน (2.) วิเคราะห์เครือข่ายการสื่อสารเพื่อพัฒนาอำเภอผักไห่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (3.) ประเมินสภาพความพร้อม โดยวัดจากตัวชี้วัด 4 อย่าง คือ สมาชิกในชุมชนให้ความร่วมมือ มีท่าเทียบเรือ มีแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน และมีที่ค้างแรมในหมู่บ้าน หรือ โฮมสเตย์ ผลการวิจัย พบว่า อำเภอผักไห่ตั้งอยู่ริมน้ำน้อยเป็นชุมชนเก่าแก่ครั้งสมัยละโว้ มีอดีตที่น่าภาคภูมิใจ กล่าวคือพระพุทธเจ้าหลวง เสด็จประพาสต้นถึงสองครั้ง ทรงบันทึกในจดหมายเหตุเสด็จประพาสต้น โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ(พ.ศ.2447) และบันทึกในราชหัตถเลขาของพระพุทธเจ้าหลวง(พ.ศ.2451) ถึงความเจริญของชุมชนบ้านปากไห่ ในการเสด็จทั้งสองคราวทรงประทับแรมที่บ้านหลวงวารีโยธารักษ์ (บ้านตึก) ซึ่งเป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอผักไห่ ปัจจุบัน รกร้างเหลือเพียงหอนั่งริมน้ำ นอกจากผักไห่จะเป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรม ประเพณี และโบราณสถานที่ล้ำค่าแล้ว ยังมีลำน้ำน้อยเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ อุดมด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และสัตว์น้ำนานาชนิด ถึงขนาดมีคำกล่าวว่า “จะจับกุ้งต้องแหวกปลา” ต่อมามีการสร้างเขื่อนชลประทาน โบราณสถานหลายแห่งเหลือเพียงซาก เนื่องจากประชากรวัยทำงานทิ้งถิ่นเหลือแต่เด็กและคนชรา อย่างไรก็ตาม ผักไห่ยังคงมีทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางธรรมชาติที่ทรงคุณค่าเหลือไว้ให้ลูกหลาน น่าที่จะรื้อฟื้นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว สำหรับ เครือข่ายการสื่อสารเพื่อพัฒนา “ลำน้ำน้อย” ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ได้แบ่งประชากรออกเป็น 3 กลุ่ม คือ (1.) กลุ่มข้าราชการประจำ โดยมีนายอำเภอ ถือเป็นสื่อบุคคลที่มีความสำคัญ สามารถบูรณาการคุณสมบัติ 4 ประการได้แก่ นักพัฒนา นักประสาน ผู้ชี้แนะ และผู้ดูแล สำหรับการสื่อสารระหว่างสมาชิกภายในกลุ่มข้าราชการประจำ ใช้เครือข่ายการสื่อสารแบบครบวงจร และใช้ช่องทางการไหลของข่าวสารทั้งแบบทางการและแบบไม่เป็นทางการ ส่วนการสื่อสารระหว่างกลุ่ม (กับข้าราชการส่วนท้องถิ่น) ใช้เครือข่ายการสื่อสารทั้งแบบเป็นทางการด้วยสื่อเฉพาะกิจ ได้แก่ เอกสารราชการ การสั่งการ การประชุม เป็นต้น และการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการด้วยการสื่อสารระหว่างบุคคล ได้แก่ การพูดคุยสนทนาตามงานเลี้ยงต่างๆ การสัมมนากึ่งพักผ่อนนอกสถานที่ การแลกเปลี่ยนดูงาน เป็นต้น (2.) ผู้นำชุมชน พบว่า นายก อบต. หน้าโคกรับทราบข่าวสารและนำไปเผยแพร่แก่สมาชิกโดยผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายมากที่สุดและ กลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่งตอบว่าไม่เคยได้รับทราบข่าวสารเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ส่วนผู้ที่ได้รับทราบข่าวสารแล้วเกิดความรู้/ความเข้าใจจากสื่อบุคคลมากที่สุด รองลงมาเสียงตามสาย และเอกสารราชการ ตามลำดับ และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ต้องการรับทราบข่าวสารเพิ่มเติม โดยผ่านเสียงตามสายมากที่สุด รองมา สื่อบุคคล และเอกสารราชการตามลำดับ (3) กลุ่มแม่บ้านและผู้ประกอบการ พบว่า ชุมชนที่มีความพร้อมมากที่สุดได้แก่ ชุมชนศรีวิเชียร ในตำบลหน้าโคก เพราะมีกลุ่มผู้นำสตรีที่เข้มแข็ง อีกทั้งมีเครือญาติมี่มีธุรกิจที่มั่งคงรองรับอยู่ สำหรับความพร้อมของชุมชน ในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พบว่ากลุ่มตัวอย่างของ อบต. หน้าโคกมีความเป็นไปได้มากที่สุดเพราะมีพื้นฐานการรวมตัวเรื่องอาชีพ (ศูนย์การเรียนรู้สตรีศรีวิเชียร) รองลงมา อบต. ลาดชิดมีพื้นฐานการรวมตัวเรื่องสิ่งแวดล้อม ด้านข้อเสนอแนะ หากต้องการพัฒนาอำเภอผักไห่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างเป็นรูปธรรม ควรมีการบริหารจัดการ ดังนี้ (1.) ต้องมีการจัดตั้งองค์กรท่องเที่ยวที่เกิดจากการรวมตัวของภาครัฐ/เอกชน เพื่อร่วมรับผิดชอบ โดยใช้เครือข่ายการสื่อสารแบบครบวงจรทั้งแบบเป็นทางการ และแบบไม่เป็นทางการเพื่อให้สมาชิกได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างครบถ้วน (2.) สำหรับการสื่อสารกับสมาชิกในแต่ละชุมชน นอกจากต้องอาศัยสื่อบุคคลแล้วควรใช้ประโยชน์จากเสียงตามสายมากขึ้นด้วย (3.) ควรมีการสร้างเครือข่ายการสื่อสารระหว่างชุมชน (ทั้งภายใน/ภายนอกอำเภอ) เพื่อแลกเปลี่ยนดูงานระหว่างกัน (4.) ควรมีการพัฒนาเว็บไซต์ท่องเที่ยวสำหรับชุมชนที่มีความพร้อม ได้แก่ อบต. หน้าโคก และ อบต. ลาดชิด โดยสรุปจากการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป การลงตรวจสอบสภาพพื้นที่ รวมถึงการสังเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง มีความเห็นว่าสามารถพัฒนา "ลำน้ำน้อย" ในพื้นที่อำเภอผักไห่ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้อย่างแน่นอน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ศูนย์สนเทศและหอสมุด
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: library@dpu.ac.th
Role: ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, ผู้ให้ทุนวิจัย
Created: 2546
Modified: 2551-09-05
Issued: 2551-07-09
งานวิจัย/Research report
application/pdf
ISBN: 9749745396
CallNumber: 302.3 ป542ค
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 Cover.pdf 1.52 MB116 2025-03-13 14:09:58
2 ABS.pdf 1.32 MB107 2025-03-13 14:09:30
3 Chap_1.pdf 2.49 MB114 2025-03-13 14:09:01
4 Chap_2.pdf 12.01 MB163 2024-11-12 12:32:43
5 Chap_3.pdf 1.71 MB112 2024-11-12 12:33:58
6 Chap_4.pdf 12.48 MB151 2024-11-12 12:34:36
7 Chap_5.pdf 2.58 MB78 2024-11-12 12:36:10
8 App-bip.pdf 613.89 KB65 2024-11-12 12:37:21
9 App.pdf 12.94 MB80 2024-11-12 12:38:28
10 Vita.pdf 540.62 KB52 2024-11-12 12:40:15
ใช้เวลา
0.279023 วินาที

ปาจรีย์ อ่อนสอาด
Title Contributor Type
รายงานผลการวิจัย เรื่อง กลยุทธ์การสื่อสารโน้มน้าวใจผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง : กรณีศึกษาการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ปี 2547
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ปาจรีย์ อ่อนสอาด
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
งานวิจัย/Research report
รายงานผลการวิจัยเรื่องเครือข่ายการสื่อสารเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาลำน้ำน้อย อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ปาจรีย์ อ่อนสอาด;ประดิษฐ์ รัตนวิจารณ์
ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
งานวิจัย/Research report
รายงานผลการวิจัย เรื่อง การวิเคราะห์ช่องทางในเครือข่ายการสื่อสารการเมืองที่มีอิทธิพลต่อ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ปาจรีย์ อ่อนสอาด
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
งานวิจัย/Research report
รายงานผลการวิจัยเรื่อง วิเคราะห์เครือข่ายการสื่อสารธุรกิจชุมชนกรณีศึกษาโรงสีข้าวของชุมชนสหกรณ์การเกษตรอุตรดิตถ์ จำกัด
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ปาจรีย์ อ่อนสอาด
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
งานวิจัย/Research report
รายงานผลการวิจัย เรื่อง การวิเคราะห์องค์ประกอบการสื่อสารที่สร้างความสำเร็จต่อ"วิถีการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง" กรณีศึกษา ศูนย์การเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ปาจรีย์ อ่อนสอาด
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
งานวิจัย/Research report
โน้มน้าวใจอย่างไรจึงได้ผล
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ปาจรีย์ อ่อนสอาด

บทความ/Article
ชุมชนเร่ร่อน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ปาจรีย์ อ่อนสอาด

บทความ/Article
กลยุทธ์การตลาดการเมืองแบบสุนทรียศิลป์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ปาจรีย์ อ่อนสอาด

บทความ/Article
การรณรงค์บริจาคอวัยวะผ่าน เรื่องเล่า
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ปาจรีย์ อ่อนสอาด

บทความ/Article
ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
Title Creator Type and Date Create
รายงานการวิจัยการศึกษาการส่งผ่านความร้อนและแสงผ่านกระจกอาคาร
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ติกะ บุนนาค
งานวิจัย/Research report
รายงานผลการวิจัยเรื่องการศึกษาผลการใช้เทคนิคการคิดนอกกรอบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา : กรณีศึกษาคณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ฤทธิไกร ตุลวรรธนะ
ปรียานันท์ สุจปลื้ม
งานวิจัย/Research report
รายงานผลการวิจัยเรื่องเครือข่ายการสื่อสารเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาลำน้ำน้อย อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ปาจรีย์ อ่อนสอาด
ประดิษฐ์ รัตนวิจารณ์
งานวิจัย/Research report
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 15
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 1,867
รวม 1,882 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 153,360 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 1,611 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 71 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล = 52 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 7 ครั้ง
สถาบันพระบรมราชชนก = 3 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 1 ครั้ง
รวม 155,105 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.136
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.208