แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนกิจการพลเรือนกรมกิจการพลเรือนทหารบก
Developing educational management of Civil Affairs School, directorate of Civil Affairs

ThaSH: โรงเรียนกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือนทหารบก - - การบริหาร
Classification :.DDC: วน371
ThaSH: การศึกษา - - การบริหาร
ThaSH: การศึกษาวิชาทหาร - - ไทย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือนทหารบก และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน โดยศึกษา 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านอาจารย์ ด้านผู้เข้ารับการศึกษาและด้านการวัดและประเมินผล วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลด้วยการค้นคว้า เอกสาร หนังสือ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากอาจารย์ในโรงเรียนกิจการพลเรือนฯ จำนวน 16 ท่าน และการประชุมกลุ่ม จากอาจารย์หัวหน้าวิชา จำนวน 5 แผนกวิชา ผลการวิจัยพบว่า ด้านหลักสูตร มีปัญหาที่สำคัญ คือ หลักสูตรไม่เน้นการปฏิบัติ มุ่งเน้นการบรรยายเนื้อหาวิชา เมื่อผู้เข้ารับการศึกษาจบหลักสูตร จึงไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ตามวัตถุประสงค์ สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหา คือ ควรปรับปรุงหลักสูตรให้ผู้เข้ารับการศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมรายวิชาที่สอนและมีการแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกัน มีเวลาให้ทำงานกลุ่มในวิชาเรียน จัดให้มีเวลาสัมมนาและการแถลงผลการสัมมนา ด้านอาจารย์ มีปัญหาที่สำคัญ คือ ด้านความรู้ของอาจารย์ และอาจารย์ส่วนใหญ่เน้นงานด้านธุรการมากกว่างานการสอน ทำให้ขาดอาจารย์ที่จะสอน สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหา ควรส่งเสริมให้อาจารย์ เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และสามารถนำมาปรับใช้ในการสอนหรือใช้กับผลงานทางวิชาการ ให้มีภาวะผู้นำเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือ ด้านผู้เข้ารับการศึกษา มีปัญหาที่สำคัญ คือ ขาดความรู้ ขาดทักษะ ขาดความพร้อม และมีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหา ควรคัดเลือกผู้เข้ารับการศึกษาโดยพิจารณาจากคุณวุฒิและคุณสมบัติ ให้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในแต่ละหลักสูตร และนำระบบการจัดแบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการศึกษามาใช้ เพื่อลดช่องว่างของความแตกต่างในด้านระดับพื้นฐานการศึกษา ความรู้ประสบการณ์ที่แตกต่างกันให้ลดลง สำหรับด้านการวัดและประเมินผล มีปัญหาที่สำคัญ คือ ประเมินโดยมีความรู้สึกเกรงผลกระทบถึงตัวผู้ประเมิน สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหา ควรใช้วิธีการประเมินแบบอื่นๆ เพิ่มเติมได้แก่ วิธีการสังเกต วิธีการสัมภาษณ์ตามโอกาสที่เหมาะสม นอกจากนั้นจะต้องยึดระบบคุณธรรมและความเที่ยงธรรมด้วย ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัย พบว่าปัญหาขององค์ประกอบการจัดการเรียนการสอน มีความสัมพันธ์กัน ไม่สามารถแยกการแก้ไขปัญหาเป็นองค์ประกอบได้ ซึ่งการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนต้องมีการบูรณาการ รวมทั้งจัดทำเป็นแผนการพัฒนาร่วมกัน โดยกำหนดเป้าหมายในการดำเนินการตามความเร่งด่วนของปัญหาในแต่ละองค์ประกอบ
Abstract: This research aimed to investigate the education management and future development process for education management of Civil Affairs School. Four factors were studied namely, the curriculum, the instructors, the students and the evaluation process. The qualitative research method was used to collect the data from various resources including journals, publications, research papers, in-depth interviews with 16 instructors and brainstorming sessions between the chiefs of the 5 Learning Sections from the school. The research has shown that the curriculum set by the school does not put enough emphasis on the actual application of the taught theories but rather the subject details. Most graduates could not use what they have learned from the school to solve the problems. However, by changing the curriculum to encourage students to participate in their classes, such as by increase the hours for group seminars where students are required to exchange their opinions as well as presenting their summary findings at the end of each session, will improve the effectiveness of the curriculum. At present, most of the instructors still lack the required knowledge to teach their assigned subjects as most of them are used to administrative works and have not been trained as instructors. This problem can be solved by providing additional support and assistance for these instructors to acquire more knowledge, capabilities and to gain more experience to develop themselves as instructors. As a result, they will be more accepted, trusted and capable of leading the students. In addition, the screening process for the students must be more effective to ensure that the students are capable, knowledgeable and ready to learn. The screening process should consider the students’ backgrounds and their past academic experiences. This will ensure that all students have similar backgrounds and reduce the knowledge gap among students. Finally, the evaluation process must be reconsidered and carried out as accurately as possible. Additional methods for evaluating students should include observations and interviews when applicable. The most important factor to keep in mind is that the process must be done fairly, ethically, and truthfully. From these findings, it is conclusive that all of the four factors are connected and must be considered as one. The development of education management must be a process that integrates all these factors together. However, each factor must be prioritized and clear objectives must be established.
Chandrakasem Rajabhat University
Address: BANGKOK
Email: krisada13@gmail.com
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Created: 2549-12-21
Modified: 2552-12-15
Issued: 2551-09-15
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
CallNumber: วน371 ศ735ก
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 prawat.pdf 46.8 KB23 2020-08-22 21:35:08
2 pakpanoung.pdf 79.99 KB22 2020-08-22 21:35:13
3 bunnanugrom.pdf 71.34 KB31 2022-05-19 12:22:33
4 bot5.pdf 91 KB28 2020-08-22 21:35:25
5 bot4.pdf 189.97 KB22 2022-05-19 12:21:55
6 bot3.pdf 93.92 KB22 2025-03-09 20:23:13
7 bot2.pdf 262.79 KB77 2025-03-09 20:23:05
8 bot1.pdf 80.41 KB45 2025-03-09 20:22:54
9 sarabun.pdf 60.42 KB18 2020-08-22 21:35:51
10 gittigumpragad.pdf 50.05 KB23 2020-08-22 21:35:57
11 botcudyor.pdf 51.83 KB38 2020-08-22 21:36:02
12 pok.pdf 66.05 KB15 2020-08-22 21:36:07
ใช้เวลา
0.034663 วินาที

ศุภสิทธิ์ ชิตท้วม
Title Contributor Type
การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนกิจการพลเรือนกรมกิจการพลเรือนทหารบก
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ศุภสิทธิ์ ชิตท้วม
ผศ.ดร.อมรา รัตตากร
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผศ.ดร.อมรา รัตตากร
Title Creator Type and Date Create
คุณภาพชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการตำรวจสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สวนพลู กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ผศ.ดร.อมรา รัตตากร
ฐิติวัฒน์ ยะชัยมา
วิทยานิพนธ์/Thesis
คุณภาพชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานฝ่ายสินเชื่อ 1 - 4 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ผศ.ดร.อมรา รัตตากร
ไพรัตน์ สุปัญญา
วิทยานิพนธ์/Thesis
คุณภาพชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและคุณภาพในการทำงานของ : นักศึกษาศูนย์การศึกษาสหะพาณิชย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเก
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ผศ.ดร.อมรา รัตตากร
นงนุช หงส์รัตน์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของสำนักงานคลังจังหวัดนครศรีธรรมราชในทัศนะของข้าราชการและลูกจ้างศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ผศ.ดร.อมรา รัตตากร
ชุติพร ผลพูล
วิทยานิพนธ์/Thesis
คุณภาพชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและคุณภาพชีวิตในการทำงานของประชาชนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ตำบลหินฮาว อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ผศ.ดร.อมรา รัตตากร
สุจิตรา แก้วดู
วิทยานิพนธ์/Thesis
คุณภาพชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน บริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) : กรณีศึกษาสาขาในสังกัดเขตการบริการและการขาย 1
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ผศ.ดร.อมรา รัตตากร
กิตติพร ปทุมทอง
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนกิจการพลเรือนกรมกิจการพลเรือนทหารบก
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ผศ.ดร.อมรา รัตตากร
ศุภสิทธิ์ ชิตท้วม
วิทยานิพนธ์/Thesis
แรงจูงใจและความต้องการพัฒนาตนเองของผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีส่วนราชการ เขตจตุจักร
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ผศ.ดร.อมรา รัตตากร
ศิวาพร เกิดวาจา
วิทยานิพนธ์/Thesis
แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงเรียนสอนภาษา เท็กซ์ แอน ทอล์ค
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ผศ.ดร.อมรา รัตตากร
วิลาวัลย์ ฤทธิ์แดง
วิทยานิพนธ์/Thesis
พฤติกรรมการใช้บริการร้าน TNET และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้าน TNET สาขาไอทีแสควร์ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ผศ.ดร.อมรา รัตตากร
กฤษฎา กลิ่นฟุ้ง
วิทยานิพนธ์/Thesis
คุณภาพชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ผศ.ดร.อมรา รัตตากร
เยาวรักษ์ พนังจำรัส
วิทยานิพนธ์/Thesis
คุณภาพชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) : กรณีศึกษา เขตพื้นที่รามอินทรา
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ผศ.ดร.อมรา รัตตากร
เจนจิรา ราชไชยา
วิทยานิพนธ์/Thesis
พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้ถุงซิปพลาสติกของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ผศ.ดร.อมรา รัตตากร
มานพ วรจิตจำนงค์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ความพึงพอใจของนักศึกษาปริญญาตรี ต่อการให้บริการของ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ผศ.ดร.อมรา รัตตากร
วราพรณ์ ดอนหัวล่อ
วิทยานิพนธ์/Thesis
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 41
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2,403
รวม 2,444 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 156,395 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 267 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 247 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 45 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล = 38 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 5 ครั้ง
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ = 1 ครั้ง
รวม 156,998 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.132
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.48