Abstract:
การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาการนำหลักการของเทคโนโลยีสะอาดเข้ามาประยุกต์ใช้ในการผลิตเยื่อและกระดาษจากสาโดยการตรวจประเมินกระบวนการผลิต และเสนอแนะในการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีของเสียน้อยที่สุด ซึ่งจะทำให้ประหยัดวัตถุดิบ น้ำ สารเคมี พลังงานและเพิ่มผลผลิต อันจะส่งผลให้ลดต้นทุนการผลิต และลดของเสียให้อยู่ในระดับที่บำบัดได้ง่ายอีกด้วยจากกรณีศึกษาโรงงานตัวอย่างในจังหวัดแพร่ที่มีกำลังการผลิตกระดาษสา 1,000 แผ่น ต่อวัน หรือ 6.87 ตันต่อปี พบว่า มีปริมาณการใช้วัตถุดิบ 2.911 ตันต่อกระดาษ ปริมาณการใช้น้ำ 451 ลูกบาศก์เมตรต่อตันกระดาษ ปริมาณการใช้สารเคมี 414 กิโลกรัมต่อตันกระดาษปริมาณการใช้เชื้อเพลิงและไฟฟ้าทั้งหมดคิดเป็น 42.89 กิกะจูลต่อตันกระดาษ และ 567 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อตันกระดาษ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า กระบวนการต้มเยื่อ กระบวนการฟอกเยื่อ และกระบวนการล้างเยื่อหลังฟอก มีการสูญเสียเยื่อ 7,890 กิโลกรัมต่อปี 2,680 กิโลกรัมต่อปี และ 224 กิโลกรัมต่อปี ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าการสูญเสียเป็น 150,000 บาทต่อปี 107,000 บาทต่อปี และ 35,000 บาทต่อปี ตามลำดับข้อเสนอเทคโนโลยีสะอาดในการปรับปรุงกระบวนการฟอกเยื่อ โดยการใช้ถังสเตนเลสในการฟอกเยื่อ ทำให้ลดการใช้สารเคมีได้ 86 กิโลกรัมต่อตันกระดาษ หรือ คิดเป็น 20.8 เปอร์เซ็นต์ และการปรับปรุงสภาวะในการฟอกเยื่อ ลดสารเคมีได้ 49 กิโลกรัมต่อตันกระดาษ หรือ คิดเป็น 11.8 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกระบวนการต้มเยื่อ เมื่อใช้การแช่เปลือกสาด้วยน้ำต้มเยื่อดำแทนน้ำ สามารถลดการใช้สารเคมีได้ 57 กิโลกรัมต่อตันกระดาษ หรือ คิดเป็น 13.8 เปอร์เซ็นต์ สำหรับกระบวนการล้างเยื่อ คำนวณปริมาณน้ำล้างเยื่อโดยใช้ระบบการล้างเยื่อแบบน้ำล้นไหลสวนทาง สามารถลดการใช้น้ำได้ 233 ลูกบาศก์เมตรต่อตันกระดาษ คิดเป็น 51.7 เปอร์เซ็นต์ และการจัดผังการล้างเยื่อใหม่ สามารถลดการใช้น้ำได้ 120 ลูกบาศก์เมตรต่อตันกระดาษ หรือคิดเป็น 26.5 เปอร์เซ็นต์This research is to introduce cleaner technology (CT) to paper mulberry pulp and paper industry. The production process has been audited and then recommendation practices or CT-options have been introduced and implemented in order to reduce wastes at the source and, at the same time, lower the production cost.One handmade-paper in Prae Province with the production capacity of 1,000 sheets per day or 6.87 tons per year has been selected in this case. The study indicated that the Saa-bark consumption is 2.011 tons per ton of paper, the water consumption is 451 cubic m per ton of paper and the chemical consumption is 414 kg per to of paper. The overall firewood energy and electrical energy consumption are 42.89 GJ per to of paper and 567 kWh per ton of paper respectively. Also, losses of pulp during the processes of cooking, bleaching and washing were 7890, 2680 and 224 kg pulp per year respectively or in term of cost, 150000, 107000 and 35000 baht per year, respectively. Implementation of the proposed Ct-options by using stainless steel tank for bleaching and reduce to amount of bleaching chemical used in the process 86 kg per ton of paper or 20.8 percent reduction. Likewise, improvement of the bleaching condition can reduce 49 kg of chemical used or 11.8 percent. In the cooking process, using of black liquor instead of water as soaking solvent and reduce 57 kg of cooking chemical per ton of paper or 13.8 percent. For the washing process, it is estimated that the counter-current rinsing system could reduce 233 cubic m of water consumption per ton of paper or 51.7 percent. More ever, improvement of the washing flow layout could reduce 120 cubic m of water consumption per ton of paper of 26.5 percent.