Abstract:
การก่อหนี้สาธารณะของประเทศไทยในช่วง 3-4 ปี ที่ผ่านมา ได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องก่อหนี้สาธารณะ เพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ ชดเชยความเสียหายและปรับโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจการเงิน รวมทั้งบรรเทาผลกระทบทางลบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ทำการศึกษาถึงการก่อหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นจากรัฐบาลโดยตรง และผลกระทบที่มีต่อระดับอัตราดอกเบี้ยในประเทศสำหรับผลการศึกษาพบว่าปริมาณเงินในประเทศ มีความสัมพันธ์กับปริมาณเงินในช่วงที่ผ่านมาและปริมาณหนี้สาธารณะของประเทศและมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 1.0105, - 0.1711 ตามลำดับ โดยปริมาณหนี้สาธารณะที่กู้จากธนาคารแห่งประเทศไทยและกู้ยืมจากภาคเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ในประเทศ จะมีความสัมพันธ์กับการกำหนดปริมาณเงินและมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 0.4952, -06150 ตามลำดับ ในขณะที่การกู้ยืมจากต่างประเทศและจากธนาคารพาณิชย์ จะไม่มีผลกระทบต่อการกำหนดปริมาณเงินภายในประเทศ ส่วนระดับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมขั้นต่ำ จะมีความสัมพันธ์กับอัตรารับซื้อคืนพันธบัตรระยะ 7 วัน และปริมาณเงินและมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 0.0507, - 0.0392 ตามลำดับ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมจากต่างประเทศ และปัจจัยที่มีผลต่ออัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืมจากต่างประเทศ ปริมาณเงินและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมขั้นต่ำและมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ -0.1294, -0.0331 และ 0.2565 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณดังกล่าวจะพบว่าการเปลี่ยนแปลงปริมาณหนี้สาธารณะจะมีผลกระทบต่อระดับอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศ โดยผ่านทางการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงิน Public Debt in Thailand has increased rapidly during the past 3-4 years compared to the period before the economic crisis. The main reason was that the government had to incur public debt in order to ameliorate economy, restructure and pay the losses of the money sector, and to relieve the negative social impact. This thesis studies the direct government debt and its impact on the domestic interest rate.The quantitative analysis revealed that, the money supply is related to the money supple (last month period) and the public debt, with the coeffient of 1.0105-0.1711 respectively. The public borrowing from Bank of Thailand and from Domestic private non bank sector are related to money supple, with the coeffient of 0.4952, 0.6150 respectively, whereas the borrowing from external and commercial banks are not. Furthermore, the Minimum Loan Rate (MLR) is related to the repurchase rate (7 days) and money supply, with the coeffient of 0.507,-0.0392 respectively, but not the foreign interest rate. In addition, factors that effect coupon rate of government bond are foreign interest rate, money supply and MLR, with the coeffient of -0.1294,-0.0331 and 0.256 respectively. It is also found that the change in public debt has the impact on domestic interest rate via change in money supply.