แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

ผลของการฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้วยวิธีการอย่างง่าย ในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม
Effectiveness of quadriceps-strengthening exercise with modified regime in patients with osteoarthritis of the knee

ThaSH: ข้อเข่า
ThaSH: ข้อเข่าเสื่อม
ThaSH: การฝึกกำลังกล้ามเนื้อ
ThaSH: กระดูกและข้ออักเสบ
ThaSH: กล้ามเนื้อ
ThaSH: โคนขา
Abstract: ศึกษาผลการฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้วยวิธีการอย่างง่าย ในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมแบบปฐมภูมิในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยจำนวน 42 ราย อายุเฉลี่ย 61 ปี สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยใช้วิธีตารางเลขสุ่มแบ่งกลุ่มผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้รับการฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้วยวิธีการอย่างง่าย โดยการค่อยๆ เพิ่มแรงต้านของน้ำหนักที่ยกตามความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อต้นขาที่เพิ่มขึ้น ในช่วงองศาการเคลื่อนไหว 30-0 องศาของการเหยียดข้อเข่า ฝึกที่ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ และฝึกต่อที่บ้านอีก 2 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 ได้รับการแนะนำการออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาที่บ้าน โดยไม่ใช้แรงต้านในช่วงองศาการเคลื่อนไหว 90-0 องศาของการเหยียดข้อเข่า เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ซึ่งทั้งสองกลุ่มได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดเหมือนกันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ วัดค่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาด้วย Isokinetic dynamometer (Cybex II dynamometer 6000) อาการปวดข้อเข่าและประสิทธิภาพในการทำกิจวัตรประจำวัน วัดด้วยแบบสอบถาม Modified WOMAC scale ก่อนการวิจัย ระหว่างการวิจัยทุกสัปดาห์และเมื่อสิ้นสุดการวิจัยที่ 4 สัปดาห์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า เมื่อสิ้นสุดการวิจัยที่ 4 สัปดาห์ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขา ด้วยวิธีการอย่างง่าย (กลุ่มทดลอง) และกลุ่มที่ได้รับการแนะนำ การฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาที่บ้าน (กลุ่มควบคุม) ไม่มีความแตกต่างกันของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาข้างขวา (p=0.917) และข้างซ้าย (p=0667) อาการปวดข้อเข่าขวา (p=0.381) และข้อเข่าซ้าย (p=0.406) และประสิทธิภาพในการทำกิจวัตรประจำวันขาข้างขวา (p=0.692) และขาข้างซ้าย (p=0.816) เมื่อเปรียบเทียบผลทุกๆ สัปดาห์ของการฝึก พบว่าเมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่สองของการฝึก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา เมื่อเทียบกับก่อนฝึกมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) คือ ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาข้างซ้ายในกลุ่มทดลอง ที่วัดด้วยวิธี Isokinetic 60 องศาต่อวินาที ก่อนการฝึกเท่ากับ 21.70 Nm/kg เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่สองเท่ากับ 34.50 Nm/kg และขาข้างขวาก่อนการฝึกเท่ากับ 17.75 Nm/kg เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่สองเท่ากับ 33.30 Nm/kg ในกลุ่มควบคุมค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาข้างซ้าย ที่วัดด้วยวิธี Isokinetic 60 องศาต่อวินาที ก่อนการฝึกเท่ากับ 23.54 Nm/kg เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่สองเท่ากับ 36.77 Nm/kg และขาข้างขวาก่อนการฝึกเท่ากับ 19.77 Nm/kg เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่สองเท่ากับ 34.59 Nm/kg อาการปวดข้อเข่าลดลงและประสิทธิภาพในการทำกิจวัตรประจำวันดีขึ้น เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์แรกของการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < 0.01) คือ คะแนนเฉลี่ยที่ได้จากแบบสอบถาม Modified WOMAC scale เพื่อประเมินอาการปวดข้อเข่าซ้ายในกลุ่มทดลองก่อนการฝึกเท่ากับ 7.40 คะแนน เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์แรกเท่ากับ 5.40 คะแนน และข้อเข่าขวาก่อนการฝึกเท่ากับ 6.85คะแนน เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์แรกเท่ากับ 5.10 คะแนน อาการปวดข้อเข่าซ้ายในกลุ่มควบคุมก่อนการฝึกเท่ากับ 8.63 คะแนน เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์แรกเท่ากับ 5.18 คะแนน และข้อเข่าขวาก่อนการฝึกเท่ากับ 8.77 คะแนน เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์แรกเท่ากับ 5.31 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากแบบสอบถาม Modified WOMAC scale เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำกิจวัตรประจำวันขาซ้ายในกลุ่มทดลองก่อนการฝึกเท่ากับ 24.55 คะแนน เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์แรกเท่ากับ 14.25 คะแนน และขาขวาก่อนการฝึกเท่ากับ 24.50 คะแนน เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์แรกเท่ากับ 13.95 คะแนน ประสิทธิภาพการทำกิจวัตรประจำวันขาซ้ายในกลุ่มควบคุมก่อนการฝึกเท่ากับ 33.18 คะแนน เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์แรกเท่ากับ 20.00 คะแนน และขาขวาก่อนการฝึกเท่ากับ 33.50 คะแนน เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์แรกเท่ากับ 20.04 คะแนนผลการวิจัยครั้งนี้สรุปว่า การออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมแบบปฐมภูมิในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางมีผลช่วยลดอาการปวดข้อเข่า และประสิทธิภาพในการทำกิจวัตรประจำวันดีขึ้นตั้งแต่สัปดาห์แรกของการฝึก และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาเพิ่มขึ้นตั้งแต่สิ้นสุดสัปดาห์ที่สองของการฝึก โดยไม่มีความแตกต่างกันทั้งความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา อาการปวดข้อเข่าและประสิทธิภาพในการทำกิจวัตรประจำวันจากวิธีการฝึกที่ต่างกันสองวิธีนี้
Abstract: To evaluate the effects of quadriceps strengthening exercise with modified regimen in patients with mild to moderate primary knee osteoarthritis. Forty two subjects, mean ages 61 years, with diagnosed as mild to moderate primary knee osteoarthritis were studied. Randomized single blind clinical trial was conducted to compared between supervised quadriceps strengthening exercise with modified regimen, progressive resistive exercise using quadriceps board and anklets and home program free weight isotonic exercise. Quadriceps strength was measured by isokinetic machine. Knee pain and functional abilities of knee joints were measured by modified WOMAC scale every week until the end of the forth week. The results showed no statistically significant difference between two groups in quadriceps strength (right side p = 0.917, left side p = 0.667), in knee pain, (right side p =0.381, left side p =0.406) and in functional abilities (right side p=0.692, left side p=0.816). The comparison between before exercise and each week of quadriceps strength, knee pain and functional abilities showed significant increment of quadriceps strength at the end of the second week (p<0.01), decrement of knee pain and improvement of functional abilities showed significant at the end of the first week (p<0.01) of both groups. In conclusion, this study show that quadriceps strengthening exercise training in patients with mild to mederate primary knee osteoarthritis will decrease knee pain, increase functional ability since the end of the first week and increase quadriceps strength since the end of the second week. There is no significant difference of quadriceps strength, knee pain and functional ability between supervised quadriceps strengthening exercise with modified regimen and home program exercise in patients with mild to moderate primary knee osteoarthritis.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Address: กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
Email: cuir@car.chula.ac.th
Role: ที่ปรึกษา
Role: ที่ปรึกษา
Created: 2543
Issued: 2006-08-23
Modified: 2006-08-23
วิทยานิพนธ์/Thesis
URL: http://thailis-db.car.chula.ac.th/CU_DC/August2004/thesis/Chadin.pdf
ISBN: 9743466436
tha
©copyrights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 Chadin.pdf 3.75 MB1270 2025-01-19 22:49:00
ใช้เวลา
0.022279 วินาที

อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา
Title Creator Type and Date Create
ผลของการฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้วยวิธีการอย่างง่าย ในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา;อนันต์ ศรีเกียรติขจร
ชฎิล สมรภูมิ
วิทยานิพนธ์/Thesis
ประสิทธิผลของเทคนิคจำกัดการเคลื่อนไหวของแขนข้างที่ดีในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรัง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา;นิจศรี ชาญณรงค์
สวิตา ธรรมวิถี
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาเครื่องฝึกการทรงตัวโดยใช้เกมส์คอมพิวเตอร์สำหรับผู้สูงวัยและผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการทรงตัว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาภรณ์ ธีรมงคลรัศมี;วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล;อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา
มานะ ศรีวิรัตน์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการฝึกความอดทนและความเร็วต่อเฮช-รีเฟล็กซ์ และสมรรถภาพทางกายในนักกีฬาฟุตซอล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ราตรี เรืองไทย;อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา
หฤทัย จันธรรม
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาวิธีการและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อวัดความอ่อนตัวสำหรับผู้สูงวัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา;ประวิตร เจนวรรธนะกุล;ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์
ทศพล ทองเติม
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการฝึกโยคะ ต่อการคงความสมดุล ความมั่นคงของกระดูกสันหลังและเชิงกราน และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา;สมพล สงวนรังศิริกุล
กิตติกร สีหาบุตร
วิทยานิพนธ์/Thesis
เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพในการปฏิบัติกิจกรรมและการนำไปใช้คัดกรองความเสี่ยงในการล้มและภาวะพึ่งพาในผู้สูงวัยไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์;อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา;ประวิตร เจนวรรธนะกุล
เตชภณ ทองเติม
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาอุปกรณ์วัดแรงกดในฝ่าเท้าอย่างง่าย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;ศิริพร จันทร์ฉาย;อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา;อาภรณ์ ธีรมงคลรัศมี
ณฐภัทชกฤษฎ์ ทิมาบุตร
วิทยานิพนธ์/Thesis
แผ่นรองเท้าแบบสั่นเพื่อกระตุ้นการรับรู้สัมผัสในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการปลายประสาทเสื่อม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา;วัชรพงษ์ โขวิฑูรกิจ
วชิรยงยศ ทิมาบุตร
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการฝึกเดินบนลู่วิ่งสายพานร่วมกับการพยุงน้ำหนักของร่างกายในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา ;พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์
ถกลวรรณ ร่าเริงยิ่ง
วิทยานิพนธ์/Thesis
การเปรียบเทียบผลของการฝึกออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานสองชนิดต่อระดับความรู้สึกกดเจ็บขั้นต่ำ การทำงานของกล้ามเนื้อและจลนศาสตร์การเคลื่อนไหวบริเวณลำตัวส่วนบนในพนักงานออฟฟิศเพศหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา;สมพล สงวนรังศิริกุล
อาทิตา ก่อการรวด
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการออกกำลังกายชนิดเพิ่มความทนทานโดยใช้แรงต้านในหญิง ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ชนิดเอวันต่อระดับน้ำตาลในเลือด
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา;ธีระ วัชรปรีชานนท์
สุดคนึง เจริญพารากุล
วิทยานิพนธ์/Thesis
การศึกษาอุปกรณ์นำทางที่ใช้แสง เสียงและสั่นกระตุ้นเพื่อพัฒนาการเดิน ของผู้ป่วยพาร์กินสัน โดยใช้เครื่องวิเคราะห์การเคลื่อนไหว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา;มานะ ศรียุทธศักดิ์
ฉัตรแก้ว พงษ์มาลา
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของการฝึกกล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และฝึกหายใจในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ของมารดาครรภ์แรก
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา;ธีระ วัชรปรีชานนท์
เพ็ญนิดา ไชยสายัณห์
วิทยานิพนธ์/Thesis
ระบบฝึกเดินร่วมกับการป้อนกลับทางชีวภาพแบบตามเวลาจริงสำหรับการฟื้นฟูแบบทางไกล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
;ภาคภูมิ สมบูรณ์;อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา
อาภาวรรณ วิศิษฎ์เวคิน
วิทยานิพนธ์/Thesis
การพัฒนาระบบฝึกเดินพร้อมการประเมินผลการเดินด้วยอุปกรณ์ไลดาร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาคภูมิ สมบูรณ์;อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา
ศุภรักษ์ ศักดารักษ์
วิทยานิพนธ์/Thesis
อนันต์ ศรีเกียรติขจร
Title Creator Type and Date Create
ผลของการฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้วยวิธีการอย่างง่าย ในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา;อนันต์ ศรีเกียรติขจร
ชฎิล สมรภูมิ
วิทยานิพนธ์/Thesis
ผลของเอ็น-(ทู-โพรพิลเพนทาโนอิล) ยูเรีย ต่อคอร์ติคัลสเปรดดิง ดีเพรสชัน ในหนูแรท
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บุญยงค์ ตันติสิระ;อนันต์ ศรีเกียรติขจร;มยุรี ตันติสิระ
สุนทราภรณ์ หันตุลา
วิทยานิพนธ์/Thesis
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2,135
รวม 2,137 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 2,250 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 1 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 1 ครั้ง
รวม 2,252 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.136
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.48