แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

ศึกษาเปรียบเทียบอิสรภาวะของมนุษย์ตามทัศนะของลัทธิเหตุวิสัยกับอิสรภาวะของมนุษย์ตามหลักกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท
A Comparative Study of the Human’s Liberty-Being of Determinism and Kamma of Theravāda Buddhist Philosophy

keyword: หลักกรรม
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิสรภาวะของมนุษย์ตามทัศนะของลัทธิเหตุวิสัย เพื่อศึกษาอิสรภาวะของมนุษย์ตามหลักกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท และเพื่อเปรียบเทียบอิสรภาวะของมนุษย์ตามทัศนะของลัทธิเหตุวิสัยกับอิสรภาวะของมนุษย์ตามหลักกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทโดยใช้วิธีการวิจัยทั้งในเชิงเอกสารผลการศึกษาวิจัยพบว่า ลัทธิเหตุวิสัย ให้แนวคิดเกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์ว่าทำนายได้ ที่บางคนกล่าวว่าทำนายไม่ได้นั้นเพราะว่า เราไม่รู้เงื่อนไขของการกระทำนั่นเอง แต่ถ้ารู้บริบทของคนนั้น ๆ ก็จะสามารถทำนายได้ ชาวเหตุวิสัยยังเห็นอีกว่า การกระทำทั้งหมดของมนุษย์ถูกกำหนดขึ้น โดยการถูกหล่อหลอมด้วยสิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อมจนกลายเป็นอุปนิสัย (รวมทั้งค่านิยมและรสนิยม) จนทำให้คนเราแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ มนุษย์จึงตกอยู่ในอำนาจของสิ่งเร้าเลยขาดความเป็นอิสระเฉพาะตนฉะนั้น ลัทธิเหตุวิสัย จึงมองว่า สรรพสิ่งล้วนตกอยู่ในอำนาจความเป็นเหตุและผล มีปัจจัยที่เป็นแรงผลักให้เป็นไป ไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นมาลอย ๆทุกอย่างขาดความเป็นอิสระเฉพาะตน และนอกจากนี้ยังรวมถึงการกระทำของมนุษย์ด้วยที่ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย ที่ต้องอาศัยสิ่งเร้า หามีความเป็นอิสระไม่ พุทธปรัชญาเถรวาทมองความเป็นอิสระของกรรมออกเป็น ๒ ระดับ คือ อิสระในระดับโลกียะที่ตั้งอยู่บนเงื่อนไขหรือในเขตจำกัด และอีกระดับคือ อิสระในระดับโลกุตตระ ที่ถือว่าเป็นอิสระโดยสิ้นเชิง ไม่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ความอิสระตามความหมายทางพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึง ภาวะที่ปรอดโปร่งโล่งสบายคลายจากเหตุปัจจัยที่จะทำให้หมุนไปสู่ความทุกข์อีก ภาวะเช่นนี้เราเรียกโดยภาษาทางธรรมว่า นิพพาน จัดเป็นโลกุตตระกรรมหรือการกระทำตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทจึงเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัยที่คอยหนุนนำให้เกิดกรรม ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอก คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ และปัจจัยภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันมีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน หรืออุปนิสัยทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่วคอยเป็นเชื้อหนุนนำ กรรมจึงมีความเป็นอิสระในเขตจำกัด หรือต้องตั้งอยู่บนเงื่อนไขหรือเหตุปัจจัย จากการศึกษาทั้งสองทัศนะจะเห็นได้ว่ากรรมหรือการกระทำตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทนั้นมีความหมายที่กว้างกว่าเหตุวิสัย ทั้งนี้เพราะพุทธปรัชญาเถรวาทมีความหมายคลุมไปถึงทั้งรูปธรรมและนามธรรม แต่เหตุวิสัยอ้างแค่รูปธรรมที่สามารถสัมผัสได้ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย เท่านั้น สิ่งที่เหนือสัมผัสนี้จะไม่ยอมรับ ถึงแม้ตามแนวความคิดของทั้งสองจะตั้งอยู่บนทฤษฎีความเป็นเหตุเป็นผลอย่างเดียวกันก็ตาม ดังนั้น จึงขอสรุปประเด็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ของแนวความคิดทั้งสองว่า ลัทธิเหตุวิสัยมุ่งต้องการเพื่อสนองความปรารถนาของบุคคล สังคม เป็นสำคัญ ซึ่งยากที่จะคำนึงถึงคุณค่าที่แท้จริง ส่วนพุทธปรัชญาเถรวาทนั้น มุ่งที่จะให้บุคคล สังคมเข้าใจในความเป็นจริง โดยให้ความสำคัญจากคุณค่าภายในเพื่อผลที่ออกมาสู่ภายนอก
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: library@mcu.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Created: 2553
Issued: 2554-11-30
วิทยานิพนธ์/Thesis
text/html
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
RightsAccess:
ใช้เวลา
0.018158 วินาที

พระมหาณรงค์ กนฺตสีโล, ผศ.,ดร.
Title Creator Type and Date Create
ศึกษาเปรียบเทียบอิสรภาวะของมนุษย์ตามทัศนะของลัทธิเหตุวิสัยกับอิสรภาวะของมนุษย์ตามหลักกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระมหาณรงค์ กนฺตสีโล, ผศ.,ดร.;พระใบฎีกาเสน่ห์ ญาณเมธี,ดร.;นายบัณฑิต รอดเทียน
พระสิรภพ มหายโส (สวินชัย)
วิทยานิพนธ์/Thesis
พระใบฎีกาเสน่ห์ ญาณเมธี,ดร.
Title Creator Type and Date Create
ศึกษาเปรียบเทียบอิสรภาวะของมนุษย์ตามทัศนะของลัทธิเหตุวิสัยกับอิสรภาวะของมนุษย์ตามหลักกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระมหาณรงค์ กนฺตสีโล, ผศ.,ดร.;พระใบฎีกาเสน่ห์ ญาณเมธี,ดร.;นายบัณฑิต รอดเทียน
พระสิรภพ มหายโส (สวินชัย)
วิทยานิพนธ์/Thesis
นายบัณฑิต รอดเทียน
Title Creator Type and Date Create
การประยุกต์พุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระครูพิพิธสุตาทร ;อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ ;นายบัณฑิต รอดเทียน
พระมหาบันเทิง ปณฺฑิโต (เครือจินดา)
วิทยานิพนธ์/Thesis
ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด เรื่องความเสมอภาคในพุทธปรัชญาเถรวาท กับแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระมหา ดร. ณรงค์ กนฺตสีโล ผศ. ;พระใบฎีกา ดร. เสน่ห์ ญาณเมธี ;นายบัณฑิต รอดเทียน
พระพุทธิชัย ทีปวํโส (พุทธิบัณฑิต)
วิทยานิพนธ์/Thesis
ศึกษาเปรียบเทียบอิสรภาวะของมนุษย์ตามทัศนะของลัทธิเหตุวิสัยกับอิสรภาวะของมนุษย์ตามหลักกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระมหาณรงค์ กนฺตสีโล, ผศ.,ดร.;พระใบฎีกาเสน่ห์ ญาณเมธี,ดร.;นายบัณฑิต รอดเทียน
พระสิรภพ มหายโส (สวินชัย)
วิทยานิพนธ์/Thesis
ชีวิตในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระใบฎีกาเสน่ห์ ญาณเมธี ,ดร., พธ.บ., MA.,Ph.D. (Philosophy.);ผศ.,ดร.วิโรจน์ อินทนนท์ ป.ธ.๗, พธ.บ.,Ph.D. (Philosophy.);นายบัณฑิต รอดเทียน ป.ธ.๔, ศน.บ., M.A.(Phillosophy.)
นาย กงจิต ฟูไตปิง
วิทยานิพนธ์/Thesis
Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 20
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 2,947
รวม 2,967 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 72,246 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 87 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 49 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล = 12 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 7 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 2 ครั้ง
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ = 1 ครั้ง
รวม 72,404 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.136
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.48