แจ้งเอกสารไม่ครบถ้วน, ไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสาร ติดต่อที่นี่ ==>
หากไม่มีอีเมลผู้รับให้กรอก thailis-noc@uni.net.th ติดต่อเจ้าหน้าที่เจ้าของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบหรือไม่ตรง

การนำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในกฎหมายเพื่อป้องกันควบคุม และแก้ไขปัญหามลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม = The Utilization of Economic Measures to Determine The Laws for Controlling Protection and Solving The Pollution Problem Caused by Pollutants Remitted from the Factories

ThaSH: มลพิษ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย.
ThaSH: กฎหมายสิ่งแวดล้อม -- ไทย.
ThaSH: กฎหมายแรงงาน -- ไทย.
Abstract: ประเทศต่างๆเกือบทั่วโลกต่างนำแนวความคิดเศรษฐกิจเสรีมาเป็นหลักในการดำเนินนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาจึงมีการพัฒนาระบบเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนในกิจกการอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันการพัฒนาดังกล่าวได้ก่อให้เกิดผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ในทางกลับกันก็เกิดผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติด้วย กล่าวคือ เกิดการศูนย์เสียทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้กระทบถึงสภาพการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ องค์การสหประชาชาติและประเทศต่างๆต่างก็ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและพยายามวิเคราะห์ถึงสาเหตุและแนวทางการแก้ไข ซึ่งสามารถสรุปสาเหตุสำคัญที่สุดได้ 2 ประการ คือ การตัดไม้ทำลายป่าและการปล่อยของเสียเข้าสู่ระบบนิเวศ จึงมีการกำหนดมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมกิจกรรมดังกล่าว โดยอาศัยประสบการณ์จากบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้วที่เคยประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าวมาก่อนมากำหนดมาตรการทางกฎหมายที่เข้มงวดเป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการปฏิบัติ ซึ่งมีผลทำให้ประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทยจำเป็นต้องนำมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นมาตรฐานสากลมาบังคับด้วย ซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานของอุตสาหกรรมไทย ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลไทยในอดีตที่มุ่งที่ตัวเลขรายได้จากการส่งออกและมุ่งขยายความเจริญทางเศรษฐกิจโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้ประเทศไทยเกิดปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุม ดูแลความเสียหายที่เกิดแก่สิ่งแวดล้อมอันมีสาเหตุมาจากโรงงานอุตสาหกรรม มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยที่ใช้เป็นหลักในการดูแลควบคุม ดูแลปัญหามลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมอาศัยกฎหมายสำคัญ 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พุทธศักราช 2535 และพระราชบัญญัติโรงงาน พุทธศักราช 2535 ซึ่งลักษณะของมาตรการทางกฎหมายจะเป็นวิธีการออกคำสั่งและควบคุมให้ปฏิบัติตามโดยกำหนดมาตรการลงโทษทางอาญา ทางแพ่งและทางการปกครองแต่บทลงโทษผู้ฝ่าฝืน มาตรการดังกล่าวยังมีปัญหาในทางปฏิบัติอยู่มาก เช่น การกำหนดมาตรฐานในการควบคุมซึ่งกำหนดมาตรฐานเดียวกับของต่างประเทศซึ่งมีความพร้อมด้านบุคลากร เทคโนโลยีและงบประมาณมากกว่า มาตรการทางอาญามีปัญหาไม่สามารถลงโทษบุคคลซึ่งเป็นต้นตอของการกระทำความผิด ขณะเดียวกันมาตรการทางแพ่งก็มีปัญหาภาระการพิสูจน์และการกำหนดความเสียหาย ส่วนมาตรการทางการปกครองยังมีปัญหาการขาดความแน่นอนและการเลือกปฏิบัติ ทำให้การใช้มาตรการทางกฎหมายเดิมไม่สามารถควบคุมดูแลและจัดการกับปัญหามลพิษจากสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรนำมาตรการอื่นๆมาใช้ควบคู่ไปกับมาตรการทางกฎหมายเดิมมาตรการที่ควรนำมาพิจารณา คือ มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ โดยยึดหลักว่าทรัพยากรธรรมชาติและความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมมิใช่ของฟรีและอาจถือเป็นส่วนหนึ่งของราคา โดยจะต้องนำค่าความเสียหายซึ่งเกิดแก่ทรัพยากรธรรมชาติหรือค่าเยียวยาบำบัดทรัพยากรธรรมชาติมารวมเป็นส่วนหนึ่งของราคา สำหรับมาตรการทางเศรษฐศาสตร์นั้นมีมาตรการหลักๆ 3 ประการ คือ มาตรการทางการเงินและการคลัง มาตรการทางการตลาด และมาตรการในการสร้างแรงจูงใจในการปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในระยะยาว แต่ละมาตรการยังมีเครื่องมือหรือวิธีการในการนำมาปรับใช้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมสูงสุดตามประเภทมลพิษ การนำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์มากำหนดหลักการทางกฎหมายเพื่อใช้ควบคู่ไปกับมาตรการทางกฎหมายเดิม เป็นการประสานมิติทางเศรษฐศาสตร์เข้ากับมิติทางกฎหมาย จะก่อให้เกิดผลดีในการลดปัญหาความขัดแย้ง ข้อขัดข้องในตัวบทกฎหมายและกระบวนการบังคับใช้กฎหมายและสอดคล้องกับหลักสากล คือ "ผู้ใดก่อมลพิษผู้นั้นจะต้องเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle - PPP)"
Abstract: Since early 19 th centuly, most countries to adopt the idea of economic Liberalization as guideline for implementing economic development policies. One could evidence this through continuous development of trade and investment, especially in manufacturing sector. Nevertheless such phenomenon, besides benefiting the economy as a whole, could also create some adverse impacts for mankind; i.e exploitation of natural resources, damage on ecology and the way we live. Multinational Organization such as the United Nations as well possible remedies regarding these issues. Finally, they come up with 2 major causes for natural resource damages; namely, exploitation of national forests as well as the release of toxic waste into ecological system. Therefore, based on real experience from developing countries confronting these natural resource problems, there have been some proposals on setting up an authorized regulation standard regarding these issues. Standardization ofstrict law enforcement would ultimately serve as a practical benchmark for those developing nations, such as Thailand, to follow in terms of managing their manufacturing standard procedures while incurring minimum damage to natural resouTces. Unfortunately, in the past Thai government tended to aim their economic growth policy via export promotion without concerns over practical damage on natural resources resulting from manufacturing facilities. This somehow led Thailand into the practical problems of monitoring environmental damages as due to manufacturing sectorRegarding this issue, there are 2 majors Thai standard laws enforcements, for regulating and controlling toxic waste release from manufacturing facilities; namely, The promotion and Reservation on the National Environmental Quality Act B.E.2535 and the Factory Act.BE.2535 governing manufacturing activities through direct orders and controls for production facilities to follow. In addition, these two Acts also contain their punishment roles under criminal, civil and administrative measures for violators. Nevertheless, the implementation of these enforcements still have pose some problems for Thailand in real practice: e.g., standardization of law enforcement to be the same internationally could pose problems as those developed countries which have more advantages in terms of human resources, technology and less budget constraints, criminal measures might in fact could confront some loopholes in identifying and punishing the origin of malpractices, civil measures could some loopholes in identifying and punishing the origin of maipractices, civil measurer could have problems in evidence proving of damage claim calculation, administrative measure could face the uncertainty in decision making and real practice, These would make the existing enforcement measures fail to fully captured, monitor and manage all pollution issues effectively. Supplemental measures; therefore, should also be implementedalong with the existing enforcement. One of the measures to be considered is "economic type measure" which is based on the idea that natural resources and adverse externalities on environment are not free commodities and hence could be priced - any damages done from exploitation of natural resources must be priced and entitled for financial compensation. This type of measures could be classified into 3 sub-' categories; namely, monetary & fiscal, marketing as well as incentive-creating policy (in terms of technology-upgrading for enhancing long term efficiency). In addition, each individual sub-category contains set of tools and methods for optimal implementation results suitable with specific type of environmental damages.The implementation of economic type-measures could be used in conjunction with the existing enforcements, to serve as a hybrid integrating the science of Economics with the Foundation of laws & regulation. Mutual benefits would emerge in terms of reductions on conflict of interest and on gaps between the written laws and actual implementation procedures-to be more consistent with international standard. The bottom line is that the cost of damaging environment should be compensated by direct polluters (i.e., the Polluter Pays Principle - PPP)
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.สำนักหอสมุดกลาง
Address: กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
Role: คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
Role: คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
Created: 2544
วิทยานิพนธ์/Thesis
ISBN: 9743138382
ม.ร. ร221 2544
tha
2544
©copyrights มหาวิทยาลัยรามคำแหง
RightsAccess:
©copyrights มหาวิทยาลัยรามคำแหง
RightsAccess:
ลำดับที่.ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูลจำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
1 title.pdf 97.47 KB153 2025-04-29 23:37:37
2 abstract.pdf 227.49 KB177 2025-04-29 23:37:41
3 contents.pdf 188.66 KB189 2025-04-29 23:37:44
4 chapter1.pdf 594.77 KB177 2025-04-29 23:37:47
5 chapter2.pdf 3.18 MB230 2025-04-29 23:37:50
6 chapter3.pdf 2.71 MB157 2025-04-29 23:37:52
7 chapter4.pdf 3.21 MB165 2025-04-29 23:37:55
8 chapter5.pdf 726.8 KB146 2025-04-29 23:37:59
9 appendix.pdf 538.9 KB112 2025-04-29 23:38:02
10 bibliography.pdf 286.26 KB98 2025-04-29 23:38:05
11 vita.pdf 22.02 KB75 2025-04-29 23:38:08
ใช้เวลา
0.042726 วินาที

Copyright 2000 - 2025 ThaiLIS Digital Collection Working Group. All rights reserved.
ThaiLIS is Thailand Library Integrated System
สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร. โทร. 02-232-4000
กำลัง ออน์ไลน์
ภายในเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 9
ภายนอกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 3,049
รวม 3,058 คน

More info..
นอก ThaiLIS = 68,738 ครั้ง
มหาวิทยาลัยสังกัดทบวงเดิม = 41 ครั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏ = 16 ครั้ง
สถาบันพระบรมราชชนก = 7 ครั้ง
หน่วยงานอื่น = 2 ครั้ง
มหาวิทยาลัยเอกชน = 1 ครั้ง
รวม 68,805 ครั้ง
Database server :
Version 2.5 Last update 1-06-2018
Power By SUSE PHP MySQL IndexData Mambo Bootstrap
มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผ่านระบบ UniNetHelp


Server : 8.199.133
Client : Not ThaiLIS Member
From IP : 216.73.216.48